งานออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นการออกแบบอาคารที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมากเเละเป็นสถานที่ซึ่งมนุษย์เป็นผู้ใช้งาน จึงทำให้ต้องมีขั้นตอนการพัฒนาการออกเเบบต่างๆมากมายและประสานงานกับผู้คนหลากหลายฝ่ายเพื่อให้เกิดเป็นผลงานสถาปัตยกรรมที่ดีสำหรับทุกๆคน การทำงานออกแบบสถาปัตยกรรมหนึ่งหลังนั้น เริ่มต้นจาก 1.) การวิเคราะห์โปรเเกรมการออกแบบ 2.) การออกแบบร่างขั้นต้น 3.) การพัฒนาแบบขั้นสมบูรณ์ 4.) การเขียนแบบก่อสร้าง 5.) การเขียนแบบขออนุญาตก่อสร้างอาคาร และ 6.) การคุมงานก่อสร้างและตรวจงานก่อสร้าง นั่นเอง จะเห็นได้ว่าอาคารที่เราใช้สอยอยู่ทุกวันนี้ต้องผ่านกระบวนการคิดปรับเเก้พัฒนาเเบบมายาวนานจนกระทั่งสร้างแล้วเสร็จเลยทีเดียว
1.การวิเคราะห์โปรเเกรมการออกแบบ
เป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้ทีมออกแบบเข้าใจถึงข้อมูลพื้นฐานต่างๆที่จำเป็นต่อการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็น การศึกษาวิเคราะห์โปรเเกรมการใช้สอยของอาคารเพื่อทราบถึงขนาดพื้นที่เเละความต้องการของพื้นที่ต่างๆ การตรวจสอบกฎหมายควบคุมอาคารที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบถึงข้อจำกัดมนการออกแบบอาคาร การลงพื้นที่ตรวจสอบที่ตั้งโครงการและบริบทโดยรอบเพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์กับอาคารต่างๆโดยรอบพื้นที่ ทั้งนี่ยังรวมไปจนถึงการค้นคว้าหาข้อมูลเฉพาะประกอบการออกเเบบในอาคารของโครงการที่ต้องการความเข้าใจเฉพาะทางอย่าง เช่น โรงพยาบาล พิพิธภัณฑ์ อาคารโรงละคร เป็นต้น
2.การออกแบบร่างขั้นต้น
เป็นขั้นตอนสำคัญที่จำทำให้ทีมออกแบบเข้าใจถึงข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ที่จำเป็นต่อการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็น การศึกษาวิเคราะห์โปรเเกรมการใช้สอยของอาคาร เพื่อทราบถึงขนาดพื้นที่เเละความต้องการของพื้นที่ต่างๆ การตรวจสอบกฎหมายควบคุมอาคารที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบถึงข้อจำกัดในการออกแบบอาคาร การลงพื้นที่ตรวจสอบที่ตั้งโครงการและบริบทโดยรอบเพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์กับอาคารต่างๆโดยรอบพื้นที่ ทั้งนี้ยังรวมไปจนถึงการค้นคว้าหาข้อมูลเฉพาะประกอบการออกเเบบในอาคารของโครงการที่ต้องการความเข้าใจเฉพาะทาง อย่างเช่น โรงพยาบาล พิพิธภัณฑ์ อาคารโรงละคร เป็นต้น
3.การพัฒนาแบบขั้นสมบูรณ์
เป็นขั้นตอนหลังจากที่เจ้าของโครงการได้ตกลงสรุปแบบร่างทางเลือกของสถาปนิกเเล้ว โดยจะเป็นการนำแบบที่ถูกรับเลือกมาพัฒนาในรายละเอียดต่างๆ ให้สมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เป็นการออกเเบบในส่วนต่างๆ ที่อาจยังไม่เคยถูกออกแบบ หรือส่วนที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ในขั้นตอนก่อนหน้าให้ครบถ้วน ขั้นตอนนี้จะเริ่มมีการลงรายละเอียดเเละประสานงานกับงานสถาปัตยกรรมภายในเเละงานภูมิสถาปัตยกรรมมากยิ่งขึ้น การผสานแบบจากหลายภาคส่วนให้กลมกลืนเป็นเรื่องเดียวกันจึงมีความจำเป็นมากที่จะมีการประชุมเเบบหารือเเนวทางกันอยู่เสมอ
4.การเขียนแบบก่อสร้างอาคาร
เป็นการนำเเบบร่างขั้นสมบูรณ์มาพัฒนาเป็นแบบก่อสร้างอาคารเพื่อให้ผู้รับเหมาเข้าใจและสามารถก่อสร้างได้ตรงตามแบบที่สถาปนิกได้ออกแบบไว้ จะเป็นการเริ่มประสานงานกับหลายภาคส่วนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยปรับจูนรายละเอียดทางวิศวกรรมต่างๆ กับทางวิศวกรโครงสร้าง งานระบบประปาและไฟฟ้า หรือการเลือกวัสดุต่างๆ ในอาคารจากตัวอย่างสินค้ามากมายตั้งเเต่วัสดุผิวอาคารไปจนถึงการเลือกสุขภัณฑ์และดวงโคมต่างๆ เป็นขั้นตอนที่ต้องการความละเอียดรอบคอบในการตรวจความถูกต้องของเเบบเเละต้องใช้ความสามารถการประสานงานที่ดี เนื่องจากต้องประสานแบบจากหลายภาคส่วนนั่นเอง
5.การเขียนแบบอนุญาตก่อสร้างอาคาร
เป็นการนำแบบอาคารที่เเสดงความถูกต้องของอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารข้อต่างๆ โดยปกติเเล้วมักจะเป็นการตรวจสอบเรื่องต่างๆที่สำคัญ เช่น ระยะร่นของอาคาร ความสูงของอาคาร จำนวนห้องนํ้า หรือความสูงของห้องภายในต่างๆ หากทุกอย่างถูกออกแบบมาอย่างดีไม่ได้ขัดกับจ้อกำหนดตั้งเเต่เเรกเริ่มก็จะสามารถได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารได้ตามปกติ เเบบที่ใช้ยื่นขออนุญาตก่อสร้างมักเป็นแบบสถาปัตยกรรมที่ตำเป็นต่างๆอย่างเช่น ผังบริเวณ ผังพื้นทุกชั้น รูปด้าน รูปตัด แบบขยายบันได และ แบบขยายห้องนํ้านั่นเอง
6.การคุมงานและตรวจบานก่อสร้าง
เมื่อเเบบขออนุญาตก่อสร้างอาคารผ่านการอนุมัติโดยเจ้าหน้าที่เเล้ว ผู้รับเหมาก่อสร้างจะเริ่มวางเเผนเเละจัดการดำเนินการก่อสร้างสถาปัตนกรรม ระหว่างการก่อสร้างสถาปนิกควรเข้าไปตรวจงานก่อสร้างอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดเมื่อผู้รับเหมาทำไม่ตรงแบบที่ออกเเบบไว้นั่นเอง เมื่อการก่อสร้างเเล้วเสร็จสถาปนิกควรเข้าไปตรวจงานทั้งหมดอย่างถี่ถ้วนก่อนส่งมอบให้กับเจ้าของโครงการในการเปิดใช้งานอาคาร