CU-TAD คืออะไร และทำอย่างไรให้ได้ 70 คะแนน ขึ้นไป!!

สำหรับใครที่กำลังสนใจหรือตั้งใจเตรียมตัวสอบเข้า INDA หรือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็จะมีข้อสอบที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับเด็กติสๆอย่างเรา นั่นก็คือ CU-TAD

CU-TAD ย่อมาจาก Chulalongkorn University Test of Aptitude in Design หรือพูดง่ายๆก็คือสอบความถนัดในการออกแบบ หากเทียบกับการสอบภาคไทยก็เทียบเท่ากับ PAT 4 นั่นเอง

ใครบ้างที่ต้องใช้คะแนน CU-TAD ?

ข้อสอบ CU-TAD นั้นใช้เป็นเกณฑ์หนึ่งในการสมัครเข้า INDA ( สถาปัตย์อินเตอร์จุฬา ) หากน้องๆคนไหนไม่ได้เลือกเข้าคณะดังกล่าว น้องไม่มีความจำเป็นต้องสอบนะครับ
และหากน้องต้องการเข้า INDA เกณฑ์ขั้นต่ำที่น้องๆจะต้องผ่านคือ 50 / 100 คะแนน

CU-TAD
CU-TAD-2

เนื้อหาการสอบ CU-TAD
ข้อสอบ CU-TAD มีเวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง 30 นาที โดยข้อสอบถูกแบ่งเป็น 3 พาร์ท
PART 1 – ข้อสอบ Multiple Choice 20 ข้อ เวลา : 30 นาที คะแนน : 20 คะแนน
PART 2 – ข้อสอบการออกแบบ 4 ข้อ โดยมีเนื้อหาข้อสอบที่เคยออกดังนี้
ข้อสอบแบบที่ 1 : การออกแบบสัญลักษณ์และโลโก้ ( SYMBOL&LOGO DESIGN ) **
ข้อสอบแบบที่ 2 : การออกแบบผลิตภัณฑ์ ( PRODUCT DESIGN ) **
ข้อสอบแบบที่ 3 : การวาด 3 มิติแบบ ISOMETRIC ( ISOMETRIC QUIZ ) **
ข้อสอบแบบที่ 4 : การออกแบบสิ่งก่อสร้างขนาดเล็ก( KIOSK DESIGN )
ข้อสอบแบบที่ 5 : การออกแบบรูปภาพจากแพทเทิร์น ( SHADING PATTERN )
เวลา : 60 นาที คะแนน : 40 คะแนน ( ข้อละ 10 คะแนน )
PART 3 – ข้อสอบวัดความสามารถในการแสดง 3 มิติ 2 ข้อ โดยมีเนื้อหาข้อสอบที่เคยออกดังนี้
ข้อสอบแบบที่ 1 : การวาดทัศนียภาพตามเนื้อหาที่กำหนด ( PERSPECTIVE DRAWING )**
ข้อสอบแบบที่ 2 : การฉาย 3 มิติในรูปแบบ ISOMETRIC หรือ ทัศนียภาพ ( ISOMETRIC- PERSPECTIVE PROJECTION )
ข้อสอบแบบที่ 3 : การวาดและแรเงามือ ( HAND DRAWING )
ข้อสอบแบบที่ 4 : การออกแบบและวาดสิ่งก่อสร้าง ( BUILDING SKETCH DESIGN )
เวลา : 60 นาที คะแนน : 40 คะแนน ( ข้อละ 20 คะแนน )

CU-TAD

3. หมวดทักษะด้าน 3 มิติ : เน้นความเข้าใจในการเขียน 3 มิติทั้งแบบ ISOMETRIC และ PERSPECTIVE โดยจะอยู่ในทั้ง PART2 และ PART3
เนื้อหาใน PART 2 ที่ออกข้อสอบบ่อยครั้ง
– การวาด 3 มิติแบบ ISOMETRIC ( ISOMETRIC QUIZ )
เนื้อหาใน PART 3 ที่ออกข้อสอบบ่อยครั้ง
– การฉาย 3 มิติในรูปแบบ ISOMETRIC หรือ ทัศนียภาพ ( ISOMETRIC- PERSPECTIVE PROJECTION )
4. หมวดการออกแบบทัศนียภาพ : เน้นการวาดทัศนียภาพที่วางองคประกอบได้ดี และทำได้ตรงกับเรื่อง ที่กำหนดให้ โดยจะอยู่ใน PART3 เท่านั้น
เนื้อหาใน PART 3 ที่ออกข้อสอบบ่อยครั้ง
– การวาดทัศนียภาพตามเนื้อหาที่กำหนด ( PERSPECTIVE DRAWING )
5. หมวดการวาดรูปเสมือนจริง : เป็นการวาดและแรเงามือ โดยเนื้อหานี้จะออกเป็นบางครั้งเท่านั้น

กลยุทธ์ในการทำข้อสอบ มี 2 ทาง
1. เน้นการออกแบบ
เน้นไปที่หมวด 1 – 2 – 3
คะแนนที่มีโอกาสได้ : 60-80 คะแนน

2. เน้นการวาดทัศนียภาพ
เน้นไปที่หมวด 1 – 3 – 4
คะแนนที่มีโอกาสได้ : 60-80 คะแนน

โดยการแนะนำนี้เป็นการแนะนำเบื้องต้นในการจัดการเวลาในการทำข้อสอบ CU-TAD เพื่อให้น้องสามารถจัดการงานที่ควรทำเพื่อให้ได้คะแนนที่ต้องการโดยที่มีเวลาเพียงพอ เพราะหากเราทำขข้อสอบแบบหว่านทำ ไม่เพียงจะเกิดการไม่เสร็จสมบูรณ์ น้องๆย่ิมรู้สึกท้อกับข้อสอบอีกด้วย ฉะนั้นใครถนัดสายไหน พี่แนะนำให้ลองฝึกพารท์นั้นๆให้เก่งไปเลยดีกว่าครับ

หากต้องการรู้ว่าแต่ละพาร์ทจะทำอย่างไรให้ได้เต็ม อดใจรอเนื้อหาต่อไปของพี่ได้เลย หรือสามารถเข้าหน้า COURSES เพื่อดูคอร์สเบื้องต้นของเราได้เลยนะ !!!

CU-TAD

การตั้งค่าคุ้กกี้

เราใช้คุ้กกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์อย่างดีที่สุดให้กับคุณ รวมถึงคุ้กกี้จำเป็นสำหรับดำเนินงานของเว็บไซต์ และเพื่อจัดการวัตถุประสงค์ทางการค้า รวมถึงคุ้กกี้อื่นๆ ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติโดยไม่ระบุตัวตน สำหรับการตั้งค่าเว็บไซต์ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้นหรือสำหรับการแสดงเนื้อหาส่วนบุคคล คุณมีอิสระในการตัดสินใจเลือกหมวดหมู่ที่คุณต้องการ โปรดทราบว่าฟังก์ชั่นของเว็บไซต์บางส่วนอาจทำงานไม่เต็มรูปแบบซึ่งขึ้นอยู่กับการตั้งค่าคุ้กกี้ของคุณ คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

  • จำเป็น

    คุ้กกี้เหล่านี้มีความจำเป็นต่อการใช้งานฟังก์ชั่นหลักของเว็บไซต์นี้ เช่น ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย คุ้กกี้เหล่านี้เราสามารถตรวจสอบได้ หากคุณต้องการที่จะอยู่ในระบบเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงบริการของเราได้อย่างรวดเร็วหลังจากเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราแล้ว

  • สถิติ

    เพื่อการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เราจึงมีการติดตามข้อมูลอย่างไม่ระบุตัวตนเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล คุ้กกี้เหล่านี้ทำให้เราสามารถติดตามจำนวนการเข้าชมที่ส่งผลกระทบต่อหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ