จากบทความการเปรียบเทียบระหว่าง INDA จุฬา กับ COMMDE จุฬา เชื่อว่าทุกคนตอนนี้จะเห็นภาพความยากในการทำพอร์ตฟอลิโอ COMMDE กันแล้วนะครับ (หากใครยังไม่ได้อ่าน คลิกที่นี่!) อย่างที่รู้ว่า พอร์ตฟอลิโอ COMMDE จุฬาต้องยื่นทั้งหมด 12 หน้า 12 งาน โดยต้องเป็นระบบ 1 หน้า 1 งานเท่านั้น เราจะมาคุยกันว่าเราจะจัดการเวลาในการทำงานพอร์ตฟอลิโอ รวมไปถึงการจัดรูปเล่มที่ได้ประสิทธิภาพนั้น เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง ไปเริ่มกันเลย
การทำงาน 12 งานอย่างมีประสิทธิภาพ
ก่อนอื่นเลย การจะจัดหน้าพอร์ตได้ดีการมีผลงานที่เหมาะสมและเตรียมการจัดหน้ากระดาษไว้ก่อนจะดีที่สุด โดยวิธีการทำงานพอร์ตฟอลิโอสำหรับ COMMDE จุฬาของเรามีขั้นตอนดังนี้
(หมายเหตุ** : วิธีการที่นำเสนอเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งในการทำพอร์ต ไม่ใช่วิธีที่ต้องทำเสมอไป)
1. เริ่มจัดระเบียบงานที่มีอยู่แล้วหรืองาน sketch วาดเล่นเป็นระบบ และเลือกลงเป็นเซตของงาน
ขั้นตอนนี้เป็นสิ่งที่ประหยัดเวลาที่สุดหากเราเคยวาดภาพบ่อยๆและเก็บไว้ เราแนะนำให้ทำเป็นกลุ่มของผลงานมากกว่าลงรูป 1 รูปเนื่องจากงานกลุ่มนี้ที่เป็นสเกชต์ลายเส้นหรือรูปวาดเวลาว่างต่างๆทำให้เนื้อคอนเซปอาจไม่ชัด แต่คอนเสปการสเกชต์ที่ชัดที่สุดคือการพัฒนาลายเส้น ฉะนั้นจะเป็นการดีถ้าอาจารย์เมื่อได้เห็นพอร์ตฟอลิโอเรา เข้าเห็นลายเส้นเรา เห็นเอกลักษณณ์ตัวตนเรา และสามารถเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี (intro) และเป็นงานสำหรับการอ้างอิงตัวตน (reference) ให้กับงานอื่นๆได้ การวางภาพลงในพื้นที่หน้าพอร์ตฟอลิโอสามารถวาดในระบบ COLLAGE (รูปแบบงานศิลปะแบบหนึ่งที่แสดงงานรวมกันแบบไม่ได้กำหนดระบบตายตัวในพื้นที่เดียวกัน) ได้เลย
ประเภทของผลงานแบบนี้ขอให้อยู่ในพอร์ตไม่เกิน 1-3 งานเท่านั้น
2. เตรียมเรื่องที่ต้องการทำสำหรับการออกแบบ เพื่อแสดงความชอบความหลงใหลหรือแม้แต่ความคิดที่ชัดเจนของเราเองในเรื่องที่ไม่ชอบ เพื่อเปลี่ยนออกมาเป็นงานศิลปะหรือการออกแบบ
ขั้นตอนนี้เป็นกระบวนการแรกที่เราจะได้แสดงความเป็นตัวเองออกแบบ เรื่องที่เราชอบไม่ชอบพวกนี้สามารถมองเป็นประสบการณ์เรื่องหนึ่งที่เรามีข้อมูลมากพอที่จะตัดสินมันด้วยหลักการหรืออารมณ์นั่นเอง ฉะนั้นข้อมูลชุดนี้จะช่วยให้เราแสดงตัวตน (obsession to show your art) ได้ไปพร้อมกับการแสดงกระบวนการออกแบบของเรา โดยงานที่ทำจากกระบวนการนี่จะขอแยกเป็นสองประเภท
2.1. งานที่ตั้งใจทำให้เป็นผลงานขนาดใหญ่ ผลงานที่เราจะทุ่มเทในการทำผลงานชิ้นสุดท้ายอย่างจริงจังนี้ จำเป็นต้องเลือกประเด็นที่น่าสนใจและทำการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างดีเพื่อความมั่นใจว่างานกลุ่มนี้เมื่อสัมภาษณ์จะไม่มีตรงไหนที่เป็นช่องโหว่ให้อาจารย์ถาม เพราะด้วยความอลังการของงาน การดึงดูดความสนใจจากอาจารย์จะเกิดขึ้นแน่นอน
ที่สำคัญที่สุดคืองานกลุ่มนี้หากมีการตอบโจทย์หลายอย่างในเนื้อหาใหญ่เดียวกัน เราสามารถแตกออกแบบเป็น 2-3 งานได้ และแสดงการวิเคราะห์ในแต่ละโจทย์ย่อยเพื่อลงลึกในแต่ละส่วน สร้างเป็นผลงานที่เชื่อมกันแต่แสดงคนละรูปแบบ การทำอย่างนี้จะทำให้เราประหยัดเวลาในการตั้ง CONCEPT ใหม่ ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากที่จะคิดให้เกิด ครบทั้ง 12 งาน
2.2. งานที่ตั้งใจทำให้เป็นผลงานขนาดกลาง ผลงานกลุ่มนี้จะเริ่มต้นจากการตั้งโจทย์ที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน เพียงแต่การจบงานเราจะเน้นการแสดงความสามารถของเราทั้งเรื่องของลายเส้น เอกลักษณ์ตัวตน และ ความเข้าใจสกิลสีพื้นฐาน ฉะนั้นผลงานอาจจะเป็นการ แสดงภาพ (illustrate) ออกมาในรูปแบบของเรา การทำแบบนี้เราจะประหยัดเวลามากขึ้น เพื่อให้งานครบถ้วน 12 งานทันการยื่นสมัคร
สุดท้ายนี้ อย่าลืมเว้นที่มุมขวาล่างเพื่อใส่ชื่อด้วยนะ!! และนี่คือทริคของเราทั้งหมดในการจัดรูปเล่มขอให้ทุกคนสู้ๆครับทุกคน