รู้หรือไม่ว่าการยื่นเข้า INDA จุฬา ในเกณฑ์รอบ TCAS 65 มีการเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก ในวันนี้เราจะมีรีวิวในทุกๆส่วนของการใช้คะแนนเพื่อดูว่าแต่ละคะแนนเราต้องเน้นเรื่องไหนบ้างนะครับ
การใช้คะแนนในการยื่น INDA จุฬา ปีนี้ การรีวิวเกณฑ์ในรอบนี้
การใช้คะแนนความสามารถคณิตศาสตร์ | 15% |
การใช้คะแนนความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ | 25% |
การใช้คะแนนความสามารถทางด้านความถนัดสถาปัตยกรรม | 15% |
พอร์ตฟอลิโอ | 5% |
การสอบ SKILL TEST | 15% |
การสอบสัมภาษณ์ | 25% |
กลุ่มคะแนนและการเตรียมตัวก่อนยื่นเข้าคณะ INDA จุฬา
การใช้คะแนนความสามารถคณิตศาสตร์
พาร์ทนี้เป็นพาร์ทนึงที่เราให้ความสำคัญในระดับปานกลาง ในมุมมองของพี่ๆ เราเห็นว่าการผ่านคะแนนเลข SAT นั้นถ้าหากคะแนนนถึง 600-650 แล้ว น้องๆสามารถมองการเพิ่มคะแนนเป็น OPTION ได้เลย และสามารถนำเวลามาเผื่อในการทำ พอร์ทฟอลิโอ และ CU-TAD ได้แล้วนั่นเอง
การใช้คะแนนความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ
พาร์ทนี้ เราขอรีวิวว่าการเปลี่ยนแปลงของคะแนนจากในอดีตที่ใช้คะแนนเพียง 20% เป็นปัจจุบันที่เพิ่มเป็น 25% นั้นทำให้คะแนนอังกฤษเป็นคะแนนที่สำคัญที่สุดคะแนนหนึ่ง และที่สำคัญในปัจจุบัน INDA จุฬา ให้ความสำคัญกับคะแนนด้านภาษาอังกฤษมากๆ โดยความสามารถภาษาอังกฤษก็จะส่งผลกับคะแนน SKILL TEST และ การสัมภาษณ์เช่นกัน ฉะนั้นพี่ๆเห็นความถ้าต้องการเข้า INDA จุฬา คะแนนสำคัญมากครับคะแนนที่ควรได้แล้วปลอดภัย IETLS : 6.5-7.0
การใช้คะแนนความสามารถทางด้านความถนัดสถาปัตยกรรม
พาร์ทนี้เป็นพาร์ทที่ถูกให้ความสำคัญน้อยลงจากเดิมที่มีความสำคัญถึง 20% เท่าภาษาอังกฤษ ตอนนี้จะเหลือเพียง 15% ซึ่งในมุมมองของพี่ๆ คือเราสามารถทำ CU-TAD ให้ถึง 70 ก็ค่อนข้างเพียงพอมากๆแล้วในการยื่นเข้า INDA จุฬา อย่างไรก็ตามความสามารถในกรวาดและแสดงความคิดก็เป็นสิ่งที่จำเป็นในการสอบ SKILL TEST เช่นกัน
พอร์ตฟอลิโอ
พาร์ทนี้ถูกปรับคะแนนลง เหลือเพียง 5% จาก 10% โดยสาเหตุเนื่องจากในปีนี้ที่อยู่ในช่วง COVID เราคาดเดาว่าทาง INDA จุฬา อาจจะเลือกให้ความสำคัญไปที่การสอบข้อสอบในรอบสัมภาษณ์แทน อย่างไรก็ตาม พาร์ทนี้ยังมีความสำคัญเนื่องจากเป็นพาร์ทที่ส่งผลกับการสัมภาษณ์โดยตรง รวมไปถึงการเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกคนออกตั้งแต่ก่อนรอบสัมภาษณ์ด้วย เนื่องจากเราเจอแคสที่ได้คะแนนส่วนอื่นดี แต่พอร์ตฟอลิโอมีปัญหา ก็อาจทำให้ไม่สามารถเข้าตั้งแต่รอบสัมภาษณ์ได้
กลุ่มคะแนนและการเตรียมตัวหลังยื่นเข้าคณะ INDA จุฬา
การสอบ SKILL TEST
พาร์ทนี้เป็นพาร์ทที่ INDA จุฬา เพิ่มความสำคัญจาก 5% เป็น 15% อย่างที่เราแจ้งว่า INDA จุฬา ต้องการให้ความสำคัญมากขึ้นกับการสอบทุกๆส่วนในรอบสัมภาษณ์ อย่างไรก็ตามในปีนี้การออกข้อสอบยังเป็นแบบเดิม คือการให้โจทย์สำหรับการเขียน ESSAY 250 คำ และ วาดภาพเพื่ออธิบาย ESSAY 1 A4 นั่นเอง ทั้งหมดมีเวลา 1.30 ชั่วโมง
โดยโจทย์ของปีนี้คือการให้เลือก 1 สถานที่ที่ต้องการไปหลังโควิด และอธิบายว่าทำไมต้องเป็นที่นั่น มีองค์ประกอบอะไรที่ทำให้เราอยากไป
การสอบสัมภาษณ์
พาร์ทนี้ในมุมมองของเรา เรามองว่าเป็นพาร์ทที่สำคัญที่สุดในการสอบทั้งหมดนี้ โดยอาจารย์ INDA จุฬา ต้องการคนที่มีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว และมีความเป็น NATIVE ทั้งในการสื่อสาร การตอบคำตอบไม่ควรเป็นการถามมาตอบไป แต่ควรตอบให้เห็นความเข้าใจทั้งหมดของงานรวมถึงเห็นการวิเคราะห์เพื่อให้ได้คำตอบออกมา เมื่ออธิบายคำตอบก็ควรให้เหตุผล SUPPORT กับสิ่งที่คิดด้วย
-
- INDA จุฬา ต้องการคนที่มีความสามารถในการพูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว และมีความเป็น NATIVE ทั้งในภาษาเขียน และการสื่อสารซึ่งจะส่งผลในรอบสัมภาษณ์และ SKILL TEST อย่างมาก
- INDA จุฬา ให้ความสำคัญกับการจัดหน้าพอร์ตฟอลิโอให้มีความกระชับมากขึ้นและยังสามรถสื่อสารออกมาได้อย่างดี โดยการทำพอร์ตฟอลิโอที่ดี จะส่งผลกับการสัมภาษณ์ทั้งคำถามตรงๆอย่างการอธิบายงาน หรือแม้แต่การเห็น personality จากพอร์ตฟอลิโอ และถามเรื่องที่ทางอาจารย์คิดว่าเกี่ยวข้องกับตัวผู้สัมภาษณ์
- การคาดหวังที่สำรอง INDA จุฬา เป็นไปได้ยากขึ้นเนื่องจาก INDA รับจำนวนคนในรอบแรกเต็มจำนวน 80 คน และการคาดหวังในการสละสิทธิ์เป็นไปได้ยาก เพราะการเลือกบุคคลในรอบสำรองจะเกิดขึ้นก่อนการยืนยัน TCAS ทำให้ ซึ่งจะไม่เกิดการตัดสิทธิ์อัตโนมัติในเวลานั้น
- การยื่นด้วยคะแนน 2 ใน 3 มีความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากผู้สมัครในเวลานี้มีคนที่ตั้งใจยื่นที่ต่างประเทศเข้ามายื่นที่ INDA จุฬามากขึ้นเนื่องจากสถานการณ์โควิค กลุ่มคนที่ยื่นแบบนี้จะมีคะแนนที่ผ่านทั้ง คะแนนเลข คะแนนภาษา และ คะแนนความถนัดสถาปัตย์ ทำให้เราเลือกคนข้าเรียน คะแนน 3 ใน 3 จะได้รับเลือกเข้าเรียนก่อน
- การยื่นด้วยคะแนน 3 ใน 3 มีความเสี่ยงก็ต่อเมื่อผู้ยื่นทำข้อสอบ SKILL TEST และสัมภาษณ์ได้ไม่ดี เนื่องจากเราเจอเคสที่คนที่ได้คะแนน 2 ใน 3 หลายคนมีสิทธิ์ได้รับการเข้าเรียน ฉะนั้น เราจึง้ข้อสรุปว่า หากเราพูดภาษาอังกฤษได้ไม่ดี อาจจะส่งผลให้เราไม่ติดได้นั่นเอง
- การสัมภาษณ์ในปีนี้ผู้สอบไม่สามารถตอบคำถามแบบถามคำตอบคำได้อีกต่อไป แต่ต้องตอบคำถามได้โดยมีระบบการวิเคราะห์ที่ดี และมีภาษาการตอบคำถามอย่างซับซ้อน รวมถึงท่าทางการสื่อสารที่ควรดูเป็น native มากขึ้น ไม่แสดงความเขินอาย และต้องพรีเซนต์ตัวเองได้อย่างชัดเจน ไม่แสดงความมีปัญหากับภาษา ไม่งั้นเราอาจจะเป็น 1 คนที่ไม่ได้รับการคัดเลือก
บทสรุป
การเปลี่ยนแปลงคะแนนกับการเลือกรับรอบนี้ ถึงแม้จะดูเปลี่ยนไปน้อย แต่การเตรียมตัวสำหรับน้องๆที่มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษน้อย ฉะนั้น ใครที่ได้อ่านคอนเท้นท์นี้อย่าลืมประเมินความสามารถด้านภาษาด้วยนะ