ในการพูดถึงค่าใช้จ่าย เราจะขอแยกเป็นสองข้อหลักที่เป็นข้อมูลเฉพาะ
- ค่าเทอม
- ค่าใช้จ่ายในการสร้างผลงานการออกแบบ
ค่าเทอม
เมื่อนำค่าเทอมของภาคไทยมาเทียบกับค่าเทอมภาคอินเตอร์อย่าง inda จุฬา และ commde จุฬา ในการจ่ายค่าเทอม inda และ commde จุฬา จะแยกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นค่าใช้จ่ายที่ชำระค่าเทอมกลางของมหาวิทยาลัย และส่วนที่สองเป็นค่าใช้จ่ายที่ชำระค่าเทอมแยกของภาควิชานานาชาติภาคนั้นๆ ฉะนั้น เมื่อเทียบกัน การจ่ายค่าเทอ inda จุฬา และ ค่าเทอม commde จุฬา จะต้องจ่ายสองส่วน ในขณะที่หากเป็นค่าเทอมสถาปัตย์จุฬาภาคไทย ค่าเทอมทั้งหมดจะจ่ายแค่ค่าเทอมส่วนกลางของมหาวิทยาลัย ซึ่งคือส่วนแรกส่วนเดียวนั่นเอง
ภาควิชา | ปีที่เรียน | ค่าเทอมมหาวิทยาลัย | ค่าเทอมแยกของภาควิชา | รวม |
---|---|---|---|---|
สถาปัตย์ไทย | 5 | 25,500 | - | 255,000 |
สถาปัตย์ภาคอุตสาหกรรม | 4 | 25,500 | - | 204,000 |
INDA | 4 | 25,500 | 70,000 | 764,000 |
COMMDE | 4 | 25,500 | 70,000 | 764,000 |
ภาควิชา | จำนวนเทอมที่บังคับเรียน | ค่าเทอมฤดูร้อนมหาวิทยาลัย | ค่าเทอมแยกของภาควิชา | รวม |
---|---|---|---|---|
INDA | 2 | 6,375 | 35,000 | 82,750 |
COMMDE | - | 6,375 | 35,000 | 0 |
ฉะนั้น เมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์ ราคาค่าเทอมสถาปัตย์คณะภาคไทยจะอยู่ที่ 25-30% ของราคาค่าเทอมสถาปัตย์จุฬาภาคไทยอย่างไรก็ตามเราอยากให้ดูปัจจัยที่สองเป็นอีก 1 อย่างในการตัดสินใจ เพราะการทำงานด้านสถาปัตย์ไม่ได้ค่าแค่ค่าเทอมแต่ยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่นการพิมพ์งาน การสร้างแบบจำลองด้วย
ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญไม่น้อยกว่าค่าเทอมและหลายคนไม่ทราบค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาก่อน ค่าใช้จ่ายระหว่างการเรียนสถาปัตย์ที่ผู้เรียนสถาปัตย์ต้องจ่ายมีดังนี้
(ทั้งนี้เราขอไม่รวมค่าใช้จ่ายทั่วไป เช่น ค่ากินอยู่ ค่าที่พักอาศัยระหว่างการเรียน หรือ ค่าเดินทางครับ)
- ค่าอุปกรณ์ที่ช่วยในการทำงานสถาปัตย์และการออกแบบ
- ค่าพิมพ์เอกสารขนาดใหญ่เพื่อนำเสนองานออกแบบช่วงเรียนสถาปัตย์และการออกแบบ
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างผลงานจริง หรือ ผลงานจำลอง รวมถึงอุปกรณ์ช่วยตัดและประกอบ
ในค่าใช้จ่ายนี้เป็นของที่จำเป็นที่สุดในการใช้เรียนสถาปัตย์และการออกแบบ นั่นคือการซื้อคอมพิวเตอร์
โดยคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการเรียนสถาปัตย์จำเป็นต้องมีคุณสมบัติในการจำลองแสงและภาพเสมือนจริงหรือเรียกว่า rendering ซึ่งจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์สเปคสูงในการทำงาน โดยอุปกรณ์นี้จำเป็นทั้งการเรียนสถาปัตย์ภาคไทย และการเรียน inda และ commde ค่าใช้จ่ายคร่าวๆอยู่ที่ 40000-60000 บาท ใช้ได้ตลอด 4-5 ปี โดยผู้เรียนจำเป็นต้องออกค่าใช้จ่ายส่วนนี้เอง
การพิมพ์รูปขนาดใหญ่เพื่อนำเสนอผลงานเป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเวลาตรวจงานสถาปัตย์และการออกแบบ อาจารย์มีความจำเป็นในการมองภาพรวมของงาน ฉะนั้น ผู้เรียนสถาปัตย์และการออกแบบจำเป็นต้องพิมพ์เอกสารในทุกๆครึ่งเทอมที่มีการส่งงานใหญ่ โดยจ่ายใช้จ่ายต่อครึ่งเทอมจะอยู่ที่ 800-1200 บาท อย่างไรก็ตามหากผู้ตรวจงานให้นำเสนอด้วยการฉายโปรเจกเตอร์ ผู้เรียนสถาปัตย์และการออกแบบอาจจะไม่ต้องพิมพ์ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ผู้เรียนเป็นคนชำระทั้งหมด
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มีราคาแพงที่สุด เนื่องจากในปัจจุบันการเรียนสถาปัตย์และการออกแบบอาจมีรูปร่างผลงานที่ซับซ้อน ทำให้ผลงานจำลองหรือการสร้างผลงานจริงมีความยากขึ้นไปด้วย ทั้งในเรื่องของวัสดุ และกระบวนการสร้างผลงาน และในปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีที่ลดทอนการทำงานช่วงการสร้างผลงานอยู่มาก แต่ก็จะตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่แพง
ค่าอุปกรณ์และวัสดุ ในส่วนนี้ค่อนข้างเป็นทางเลือกสำหรับผู้เรียนสถาปัตย์และการออกแบบ เนื่องจากวัสดุจะสะท้อนจากการออกแบบงานของผู้เรียน และหากห่วงเรื่องงบประมาณ วัสดุถูกแพงสามารถทดแทนกันได้ ขึ้นอยู่กับเทคนิคและความต้องการความสวยงามของผลงาน
ในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ผู้เรียนจะเป็นคนออกเองทั้งการเรียนสถาปัตย์ภาคไทย และการเรียนหลักสูตรนานาชาติ
ค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์ทุ่นแรง ในส่วนนี้เช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับทางเลือกและความยากง่ายของการออกแบบของผู้เรียนสถาปัตย์และการออกแบบ
หากงานมีความซับซ้อนหรือรูปทรงโค้งเยอะ ประกอบยาก การใช้เครื่องช่วยตัด หรือช่วยพิมพ์ขึ้นเป็น 3 มิติมีความจำเป็นมาก และราคาในการจ้างงานค่อนข้างแพง ตัวอย่างเช่น งานชิ้นหนึ่งค่าเฉลี่ยของราคาใช้เครื่องเลเซอร์ช่วยตัดผลงานอยู่ที่ 600-2000 บาทในงานขนาดกลาง และงานขนาดใหญ่เกิน 1 เมตร ราคา 4000-8000 บาทต่องาน และค่าเฉลี่ยของราคาใช้เครื่องพิพม์ 3 มิติ อยู่ที่ 3000-8000 บาทต่องาน ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายส่วนอื่นแล้ว ส่วนนี้ใช้เงินมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ภาควิชานานาชาติอย่าง inda ได้จัดเตรียมเครื่องเลเซอร์และ เครื่อง 3มิติ ไว้ให้เพื่อให้ในการทำงานด้วย ซึ่งถือเป็นการลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้สำหรับผู้เรียน
ส่วนของ commde ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการจัดเตรียมเครื่องตัดเครื่องพิมพ์เหล่านี้ให้เนื่องจากการเรียนแบบ commde จะไม่ได้ใช้เหมือนกลุ่มการเรียนสถาปัตย์ แต่ทางภาควิชาได้เตรียมห้อง workshop ต่างๆไว้เแทน เช่น workshop ไม้ หรือสีและวัสดุอื่นๆที่ใช้ในการเรียน ซึ่งช่วยผู้เรียนได้เยอะมาก
ฉะนั้น บทสรุปของค่าใช้จ่ายในช่วงการเรียนสถาปัตย์และการออกแบบ เทียบภาคไทย และ ภาคอินเตอร์ ในภาพของการจ่ายค่าเทอมที่ต่างกับเกือบ 5 เท่านี้ ในความเป็นจริง คณะอินเตอร์ที่แม้ราคาแพงกว่าก็ได้มอบสาธารณูปโภคที่มากกว่า เพื่อตอบโจทย์กับวิธีการเรียนการสอนที่พลิกแพลง และตอบโจทย์กับสิ่งที่ควรเป็นมาตรฐานของโรงเรียนออกแบบเช่นกัน