ความสำคัญของโปรแกรมในการออกแบบสถาปัตยกรรม
การทำงานสถาปัตย์นั้นมีรายละเอียดที่มากและมีความซับซ้อนสูง การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยทำงานจะช่วยร่นระยะเวลาในหลายๆขั้นตอนลงไปเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น การเขียนแบบที่มีรายละเอียดมากหลายๆแผ่นที่คล้ายกัน การขึ้นหุ่นจำลองสามมิติที่ซับซ้อนเกินกว่ามนุษย์จะนึกได้ การถอดปริมาณวัสดุและพื้นที่ของอาคารต่างๆ ล้วนสามารถทำได้โดยง่ายผ่านโปรเเกรมทางการออกแบบเเทบทั้งสิ้น โดยทั่วไปเเล้วนักศึกษาสถาปัตย์มักจะเริ่มได้ใช้คอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วยในการออกแบบอาคารเมื่อช่วงย่างเข้าสู่ปี 2 นั่นเอง ดังนั้นการเข้าใจชนิดการทำงานของโปรแกรมช่วยออกแบบชนิดต่างๆอย่างดี จะช่วยให้ผู้ออกแบบเลือกใช้โปรเเกรมได้ตรงกับภาระงานที่ทำและเกิดประโยชน์ได้มากที่สุด โดย โปรเเกรมที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบสถาปัตยกรรม สามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 4 กลุ่มดังนี้
โปรแกรมทำงานเขียนแบบ
เป็นโปรเเกรมที่เน้นการทำงานในเชิง 2 มิติ โดยมีหน้าที่หลักในการเข้ามาทำหน้าที่แทนโต๊ะเขียนแบบนั่นเอง โปรเเกรมเหล่านี้มักมีจุดเด่นความสามารถในการเขียนเส้นหลากหลายความหนา และ สามารถเขียนเส้น 2 มิติ ได้สะดวกหลากหลายวิธีการ มักเหมาะสมในการนำมาใช้ทำงานเขียนแบบก่อสร้าง หรือ การทำงานเชิงลวดลาย 2 มิติ โปรเเกรมที่นิยมใช้กันอย่างเเเพร่หลายเเละถือเป็นโปรเเกรมพื้นฐานสำคัญที่สถาปนิกทุกคนต้องรู้จักคือ Autodesk AutoCAD นั่นเอง
โปรแกรมทำงานสามมิติ
เป็นโปรแกรมที่ช่วยขึ้นหุ่นจำลองสามมิติแทนการตัดหุ่นจำลองจริงได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ออกแบบสามารถเข้าใจถึงมิติของที่ว่างเเละรายละเอียดต่างๆที่อาจตกหล่นไปในการมองเเบบสองมิติ โปรเเกรมกลุ่มนี้เน้นการทำงานที่เป็น 3 มิติที่มีความซับซ้อน ทำให้มีการใช้ RAM เเละ CPU มาก โปรเเกรมที่นิยมใช้กันส่วนมากสามารถแบ่งออกเป็นสองโปรแกรม ได้เเก่ 1. SketchUp ซึ่งมีจุดเด่นในการใช้งานที่ง่ายไม่ซับซ้อนเเละหลากหลาย และ 2. Rhino ซึ่งเหมาะเเก่การทำงานที่มีรูปทรงซับซ้อนและมีพื้นผิวโค้งงอที่มากกว่า ทั้งสองโปรเเกรมมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน การฝึกฝนให้เข้าใจพื้นฐานของทั้งสองโปรเเกรมจะทำให้ผู้ออกแบบสามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างครอบคลุมและเหมาะสม
โปรแกรมทำภาพเสมือนจริง
เป็นโปรเเกรมที่ช่วยสร้างภาพเสมือนจริงของหุ่นจำลองสามมิติที่ผู้ออกแบบได้ออกแแบบ โดยจะใช้ความสามารถของการ์ดจอสูงพอสมควร โปรเเกรมในกลุ่มนี้ปัจจุบันมีหลายรูปแแบบไม่ว่าจะเป็น Vray หรือ Enscape ที่จะเป็น plug-in เสริมอยู่ในโปรเเกรม SketchUp เเละ Rhino เลยโดยตรง หรือจะเป็นโปรเเกรมที่นำหุ่นจำลองที่เราทำไว้แยกออกมาทำงานต่างหากอย่าง Lumion และ 3DS max โดยโปรเเกรมเเต่ละตัวก็มีข้อดีเเตกต่างกันออกไป หากต้องการทำงานในเวลาอันสั้นไม่ต้องการการเเต่งรูปเพิ่มเติมที่มาก Lumion และ Enscape จะเหมาะสมเป็นอย่างมาก ในทางกลับกัน หากต้องการภาพที่มีเหมือนจริงสูงเเละมีเวลาในการปรับเเต่งภาพเพิ่มเติมทาง Photoshop โปรเเกรม Vray เเละ 3DS max ถือเป็นเเนวทางที่เหมาะสมกว่า
โปรแกรมจำพวก BIM
เป็นโปรเเกรมที่เหมาะสมในการใช้ทำงานหลังจากที่งานผ่านขั้นตอนการออกแแบบเเล้วเนื่องจากมีการทำงานที่ยืดหยุ่นน้อยกว่าโปรเเกรมทั่วไปสายงานต่างๆ เเต่จะมีความคล่องตัวเป็นอย่างมากในการจำแนกเเละตรวจสอบข้อมูลต่างๆของโครงการ เช่นปริมาณพื้นที่ เเละปริมาณวัสดุต่างๆของอาคาร เป็นโปรเเกรมที่รวบรวมเอาทั้งการทำงาน สองมิติ สามมิติ เเละข้อมูลประกอบแบบมาไว้ด้วยกันในที่เดียว จึงสะดวกในการเชื่อมโยงข้อมูลในมิติต่างๆของอาคารเข้าด้วยกัน เหมาะเป็นอย่างมากในการนำมาใช้ทำงานเขียนอบบก่อสร้างที่มีการทำงานร่วมกันของผู้ออกแบบหลายภาคส่วน โปรเเกรม BIM ที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ Autodesk Revit นั่นเอง