เรียนสถาปัตย์ เรียนการออกแบบ อดนอนจริงไหม และทำไมต้องอดนอน
เรื่องการอดนอน ถ้านำเปอร์เซนต์นักเรียนสถาปัตย์และนักเรียนการออกแบบทั้งหมดมาดู เราก็ต้องบอกว่า 90% ขึ้นไปเคยอดนอนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ครั้ง และ 60% ขึ้นไป อดนอนทุกๆการส่งงานใหญ่ ฉะนั้นเราขอสำหรับว่า การอดนอน เกิดขึ้นจริง
เราจะมาคุยเหตุผลที่เกิดการอดนอนกันว่าทำเกิดขึ้นได้อย่างไร
การเรียนสถาปัตย์ และ การออกแบบ การเรียนการสอน จะไม่เหมือนกับการเรียนช่วง ม.ปลาย เนื่องจากสิ่งที่ส่งผลงานและการวัดผลนั้นต่างกัน การเรียน ม.ปลาย จะเป็นการลงลึกกับเรื่องพื้นฐานหลายแขนง แต่การเรียนสถาปัตย์การออกแบบเรากำลังลงลึกด้านศิลปะ และ การออกแบบ สิ่งที่สำคัญคือการเรียนแขนงนี้ มันไม่มีคำว่า ผิดหรือถูก แต่เป็นคำว่า เหมาะสมและมีประโยชน์ เมื่อเรากำลังตั้งใจหาคำว่าเหมาะสมหรือมีประโยชน์ขึ้นมา ความถูกต้องในการส่งงานก็ไม่ได้มีแค่คำตอบเดียวแน่นอน แต่เป็นการคิดให้แยบยลที่สุดที่จะลดปัญหา เพิ่มประโยชน์ ฉะนั้น การได้เกรดดีคือการทำให้ดีที่สุด ไม่มีบรรทัดฐานผ่านคะแนนเบื้องต้นอีกต่อไป และนั่นเองทำให้การทำงานของเราเริ่มจัดเวลายากขึ้น เพราะเราจะพยายามคิดงานตลอดเวลา เพราะกลัวว่าไม่ดีพอ เพิ่มได้มากกว่านี้ เราเรียกกันว่า ใจไม่นิ่งนั่นเอง และนั่นเองทำให้เราอยากลดเวลานอน เพราะนอนไม่หลับนั่นเอง
ปัจจัยที่ 2 ปริมาณงานของการเรียนสถาปัตย์ และ การออกแบบ
เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน แต่ละสายการออกแบบ ปริมาณงานที่ต้องทำเพื่อให้จบโปรเจกต์สมบูรณ์ในแต่ละสายงานมีปริมาณไม่เท่ากัน และเราจะขอลงลึกกับสายงานที่ในแต่ละโปรเจกต์มีปริมาณค่อนข้างมากที่สุด นั่นคือ การเรียนสถาปัตย์นั่นเอง โดยงานที่เราต้องทำ ส่วนใหญ่จะเป็นโจทย์ที่ได้มาจากอาจารย์ โดยเราจะต้องมีคอนเสปในการออกแบบ และนำคอนเสปที่คิดไปพลิกแพลงการจัดวางอาคาร ซึ่งการคิดคอนเสปให้ดีใส่ในแบบอาคารของเราเป็นเรื่องใช้เวลาอยู่แล้ว สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือเรายังต้องจัดการปริมาณงานในการส่งที่เยอะอีกนั่นนเอง
งานที่ต้องส่งจะเป็นสถาปัตยกรรม 1 ชิ้นที่เราออกแบบ และแน่นอนเมื่อจะแสดงสถาปัตยกรรมให้เข้าใจ การแสดงรูป 3 มิติอย่างเดียวอาจไม่เห็นได้แสดงเนื้อหาที่เราออกแบบทั้งหมด ฉะนั้นงานของเราคือการผ่าอาคารทั้งแนวตั้งและแนวนอน เพื่อให้เห็นห้องข้างใน ซึ่งเรียกว่า ผังพื้น และ รูปตัดนั่นเอง ในหนึ่งอาคารต้องมีผังพื้นทุกชั้น และรูปตัดอย่างน้อย 2 รูป และเมื่อตัดรรูปตัดเสร็จ เราจำเป็นต้องแสดงหน้าตาของอาคารทั้งด้านนอกและด้านในให้เสมือนจริง นั่นก็คือการ RENDER หรือการใช้คอมพิวเตอร์ประมาลผมแสง วัสดุ ให้อาคารเราออกมาเหมือนจริง ซึ่งกการประมวลผลอาจใช้เวลา 5 นาที จนไปถึง 2-4 ชั่วโมงได้เลย และโดยเฉลี่ยเราต้องมีถึง 4-10 รูป
เมื่ออ่านแล้วเห็นถึงปริมาณงานที่ต้องทำ ก็จะเริ่มเห็นแล้วใช่ไหมครับว่าทำไมการเรียนสถาปัตย์ถึงกินเวลานอนของเรา
การเรียนสถาปัตย์และการออกแบบ เราไม่ได้เรียนแค่การออกแบบเพียงอย่างเดียวแต่เราต้องเรียนวิชาการในการออกแบบด้วย ต้องเรียนการคำนวณ ประวัติศาสตร์ ฉะนั้น เวลาทำงานก็ไม่ได้มีทั้งอาทิตย์ และในทางกลับกัน เวลาเราส่งงานการออกแบบในช่วง 2 เดือน เราต้องส่งแบบร่างตลอด เพี่อพัฒนาผลงานไปเรื่อยๆ และสุดท้ายจะมีเวลาประมาณ 2 อาทิตย์ในการทำงานให้จบเพื่อส่งผลงานสมบูรณ์ ในช่วง 2 อาทิตย์นั่นแหละคือเวลาทำงานที่ได้เล่าในปัจจัยที่ 2
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วเราอยากจะขอแนะนำวิธีจัดการการเรียนสถาปัตย์ หรือแม้แต่การทำพอร์ตฟอลิโอนะครับ
วิธีการจัดการงานออกแบบให้เสร็จตามเป้า
1. ทำการวางแผนเวลาให้ดี
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรู้ว่าแต่ละงานนเรใช้เวลาเท่าไหร่ เพื่อคำนวนเป็นเวลาจริงที่ใช้ พร้อมกับเพื่อเวลาเพิ่มเติมในการพักการทานข้าว หรือการนอนให้เพียงพอ หรือแม้แต่การพบปะเพื่อนฝูง การโอกาสการได้นอนและพร้อมในการส่งงาน
2. เตรียมพร้อมการวิเคราะห์ให้ดี สรุปคอนเซปให้จบ
เมื่อเรารู้แผนงานแล้วพร้อมทำให้ตรงเวลา สิ่งที่เป็นอุปสรรคที่สุดคือความลังเลตอนตัดสินใจไม่ได้ ฉะนั้น การยึดมั่นในวิเคราะห์เรา และการรู้ตัวส่าแต่ละส่วนหรือทั้งหมดในงานถาปัตยกรรมเราสื่อสารคอนเซปที่ตั้งไว้ยังไง เราจะลดความลังเลในการทำงานลง และสามารถตัดสินใจการทำงานได้ดีที่สุด หากใครต้องการอ่านระบบความคิดการออกแบบ สามารถอ่านในบทความ การทำพอร์ตเราได้เลย
การอดนอนอาจเป็นสิ่งที่พูดกันหนาหูหรืออาจกลายเป็นวิถีชีวิตของผู้เรียนสถาปัตย์ไปแล้ว แต่เราไม่จำเป็นต้องยึดติดกับความคิดแบบเดิม เราออกแบบชีวิตตัวเองได้นะ สู้ๆครับ