รีวิวข้อสอบรอบ TCAS2 สถาปัตย์จุฬาฯ ปี63

รู้ได้ไงว่าตนเองเหมาะกับการสอบรอบนี้ 

การสอบรอบ TCAS2 ของคณะสถาปัตย์จุฬาฯนั้น มีความคล้ายคลึงกับการสอบตรงในสมัยก่อน เป็นการสอบปฏิบัติภายในวันที่เน้นไปในเรื่องของความสามารถในการวาดรูป เขียนแบบ และออกแบบเป็นหลัก เป็นข้อสอบปฏิบัติข้อเขียนซึ่งเป็นการทำภายในระยะเวลาจำกัดอันสั้น อีกทั้งยังมีส่วนที่คล้ายคลึงข้อสอบความถนัดสถาปัตย์อย่าง PAT4 และ CUTAD อีกด้วย ดังนั้นการสอบรอบนี้จึงเหมาะกับผู้ที่มีความสามารถในการวาดรูปและนำเสนอแบบที่ชำนาญ และ มีการฝึกฝนการออกแบบและเขียนแบบอยู่บ่อยครั้ง ทักษะที่สำคัญจะครอบคลุมตั้งแต่การทำข้อสอบความถนัดสถาปัตย์ทั่วไปอย่างการออกแบบ logo หรือการเขียนภาพทัศนียภาพ ไปจนถึงทักษะการเขียนแบบทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบรูปทรง 3 มิติต่างๆอีกด้วย ดังนั้นน้องๆที่พลาดการสอบในรอบแรกอย่าง TCAS1 ที่ยังสนใจและไฝ่ฝันอยากเป็นนิสิตคณะสถาปัตย์จุฬาฯ ไม่ควรพลาดในการเตรียมตัวสำหรับการสอบรอบนี้นั่นเอง

11305599 1 - Time Machine Studio
S 36012052 - Time Machine Studio
S 36012052 - Time Machine Studio
11305599 1 - Time Machine Studio

เนื้อหาโดยสังเขปและควันหลงจากปี 63 

จากการรวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าสอบในปีที่ผ่านมา สรุปเนื้อหาของข้อสอบออกมาได้เป็นส่วนหลักๆดังนี้

การสอบช่วงเช้า 

( การสอบวัดทักษะพิเศษทางด้านการออกแบบและเขียนแบบ )
มีข้อสอบทั้งหมด 2 ข้อ คือ

1. ข้อสอบการเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม 

เป็นการลอกรูป isometric ของเมืองลงกระดาษเอ3 ในสเกลเดิมตามโจทย์ โดยมีอาคารทั้งหมดประมาณ 30-40 อาคาร ที่มีองศาการวางตัวของอาคารไม่ซํ้ากัน เป็นข้อสอบที่วัดความเรียบร้อยของแบบทางสถาปัตยกรรมและความถูกต้อง ผู้สอบควรฝึกฝนให้สามารถทำงานออกมาได้อย่างปราณีตและทันเวลา เนื่องจากมักใช้เวลานานหากผู้สอบไม่มีความชำนาญในการใช้เครื่องมือเขียนแบบเพียงพอ

2. ข้อสอบการออกแบบที่ว่างทางสามมิติ 

เป็นการสอบโดยผู้สอบจะต้องสร้างผลงานทางสามมิติจากกระดาษเอ4 ที่ได้รับเพียง 1 แผ่น ให้ออกมาเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่มีความสวยงาม น่าสนใจ เเละมีความสูงถึง 3 ซม. ตามที่โจทย์กำหนด เวลาในการคิดและจัดทำหุ่นจำลองมีจำกัดประมาณ 20 นาทีเท่านั้น การสอบลักษณะนี้น้องๆควรฝึกและศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ต่างๆและระบบของรุปทรงสามมิติมาให้ดีจะมีส่วนช่วยในการสร้างความคิดใหม่ๆในการทำงานส่วนนี้ได้อย่างมาก

การสอบช่วงบ่าย

( การสอบวัดทักษะทางด้านการออกแบบ )
มีความคล้ายคลึงกับข้อสอบ CUTAD ของน้องๆที่สอบเข้า INDA เป็นอย่างมากโดย มีข้อสอบทั้งหมด 3 ส่วน คือ

1. ข้อสอบปรนัยวัดความรู้พื้นฐานทางสถาปัตยกรรมและมิติสัมพันธ์ 

มีความคล้ายคลึงกับข้อสอบส่วนที่ 1 หรือส่วนปรนัยของข้อสอบ PAT4 และ CUTAD เป็นอย่างมาก ควรเตรียมพร้อมการทำโจทย์มิติสัมพันธ์พร้อมความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมเบื้องต้น

2. ข้อสอบอัตนัยวัดพื้นฐานทางการออกแบบ

คล้ายข้อสอบ CUTAD เป็นอย่างมากแต่มีจำนวนภาพต่อเวลาที่มากกว่าหลายเท่า โดยโจทย์ทั้งหมดประกอบด้วย
2.1 การออกแบบโลโก้
– หน้ากากอนามัย 4 ภาพ
– นาฬิกาทราย 4 ภาพ
2.2 isometric
– การเขียนภาพ top front และ side จากรูปทรง 3 มิติ ที่กำหนด
2.3 การออกแบบผลิตภัณฑ์
– ออกแบบชุดโต๊ะและที่นั่ง 2 คน จากโจทย์ isometric ก่อนหน้า
– ออกแบบขวดสบู่เด็กยี่ห้อ bubble
– ออกแบบนาฬิกาปลุกที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเต่า

3. ข้อสอบอัตนัยวัดพื้นฐานการวาดภาพทัศนียภาพ

e2efd90928f49078a071d49c485d89e7 - Time Machine Studio
e2efd90928f49078a071d49c485d89e7 - Time Machine Studio

การตั้งค่าคุ้กกี้

เราใช้คุ้กกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์อย่างดีที่สุดให้กับคุณ รวมถึงคุ้กกี้จำเป็นสำหรับดำเนินงานของเว็บไซต์ และเพื่อจัดการวัตถุประสงค์ทางการค้า รวมถึงคุ้กกี้อื่นๆ ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติโดยไม่ระบุตัวตน สำหรับการตั้งค่าเว็บไซต์ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้นหรือสำหรับการแสดงเนื้อหาส่วนบุคคล คุณมีอิสระในการตัดสินใจเลือกหมวดหมู่ที่คุณต้องการ โปรดทราบว่าฟังก์ชั่นของเว็บไซต์บางส่วนอาจทำงานไม่เต็มรูปแบบซึ่งขึ้นอยู่กับการตั้งค่าคุ้กกี้ของคุณ คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

  • จำเป็น

    คุ้กกี้เหล่านี้มีความจำเป็นต่อการใช้งานฟังก์ชั่นหลักของเว็บไซต์นี้ เช่น ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย คุ้กกี้เหล่านี้เราสามารถตรวจสอบได้ หากคุณต้องการที่จะอยู่ในระบบเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงบริการของเราได้อย่างรวดเร็วหลังจากเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราแล้ว

  • สถิติ

    เพื่อการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เราจึงมีการติดตามข้อมูลอย่างไม่ระบุตัวตนเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล คุ้กกี้เหล่านี้ทำให้เราสามารถติดตามจำนวนการเข้าชมที่ส่งผลกระทบต่อหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ