บทความนี้เป็นการสรุปข้อมูลจาก time machine podcast EP.1 ของเรา หากใครต้องการฟังประสบการณ์จริงกับชีวิตหฤหรรษ์ที่ในมาสรุปเกิดการพิมพ์ในบทความนี้ สามารถเข้าลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ
EP.1 รีวิวชีวิตถาปัด 5 ปี ลงนรกหรือโคตรมันส์! คลิกเพื่อรับชม
EP.2 รีวิวชีวิตถาปัด 5 ปี PART2 แกรดแล้ว!! คลิกเพื่อรับชม
จะเป็นยังไงกันนะ กับชีวิตการเป็นเด็กสถาปัตย์จุฬาภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ตลอด 5 ปี มันใช่ไม่ใช่ยังไงกับเราถ้าหากเข้าไปเรียนสถาปัตย์จุฬา งานหนักจริงไหม สถาปัตยกรรมเรียนกี่ปี ทั้งหมดนนี้เราจะมีรู้พร้อมกันในบทความนี้
เรียนสถาปัตย์ เรียนกี่ปีกันแน่?
ก่อนอื่นเลย สิ่งแรกที่ต้องรู้นั่นคือ สถาปัตยกรรมเรียนกี่ปี คำตอบคือ 5 ปีนะครับ และคณะสถาปัตย์ที่จะเล่าคือ สถาปัตย์จุฬา เนื่องจากเรามาประสบการณ์ที่สุด โดยแต่ละปีจะมีความหนักของงานที่ไม่เท่ากันโดยจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่มีและความยากของความรู้สถาปัตยกรรมในนปีนั้นๆนั่นเอง และเราจะเล่าแยกเป็นปีทั้งหมด 5 ปี เรามาเริ่มกันเลยครับ
การเรียนสถาปัตย์ปีที่ 1 ที่สุดของความลำบาก ยากที่สุดคือปรับตัว
ในปีที่ 1 เราเชื่อว่าทุกคนที่อยากเข้าเรียนสถาปัตย์ ก็จะมีความคิดว่าวันแรกที่เข้าไปจะได้เรียนปรับพื้นฐานสถาปัตย์และการออกแบบกับก่อน ซึ่งถูกต้องแล้วครับ เราจะได้เรียน แต่การเรียนพื้นฐานไม่ใช่แค่การเรียนแบบวาดรูปส่ง แต่มันการปูพื้นฐานจะแยะเป็น 4 วิชาหลักดังนี้
DESIGN STUDIO – ลงลึกการออกแบบ 3มิติและสถาปัตยกรรม ตะลุยทำโจทย์ที่สั่งโดยเน้นความคิดประกอบ3มิติและการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ดี
STRUCTURE – การเรียนพื้นฐานโครงสร้าง ทั้งการคำนวณและความเข้าใจในการรับแรง เพื่อนำไปใช้งานได้เหมาะสมที่สุด
ARCHITECTURAL DRAWING – การเรียนระบบการเขียนแบบที่เน้นความประณีตและการพัฒนาเข้าใจรูป 3 มิติ ที่ซับซ้อน เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำชิ้นงานออกแบบวิชา DESIGN STUDIO
HISTORY OF ARCHITECTURE – การเรียนประวัติศาสตร์ศิลปะและสถาปัตยกรรมเพื่อเข้าระบบความคิดของคนในยุคนั้นที่เป็นเหตุผลประเด็นในการออกแบบสถาปัตยกรรมตามแต่ละยุค
ซึ่งเนื้อหาทั้งหมด นี้เรียนไปพร้อมกัน และต้องมีงานส่งทุกอาทิตย์ อาทิตย์ละ 2-4 งาน (งานประกอบวัสดุ 3 มิติที่ออกแบบและวางแผนคิดเอง รวมไปถึงงานวาดขนาด a2 ขึ้นไป) ฉะนั้นการได้เลิกเรียนกลับบ้าน นั้นคือเวลาทำงานส่งอาจารย์ในวันถัดไปนั่นเอง และยังไม่รวมกับเวลาที่ต้องไปรับน้อง ซึ่งเราต้องจัดเวลาที่เบียดเสียดขนาดนี้ให้ทำทุกอย่างได้สำเร็จทั้งหมด นั่นแหละการปรับตัวครั้งใหญ่ที่สุดหล่ะ และที่สำคัญที่สุดคือ อาจารย์กำลังจะสร้างวินัยและคุณสมบัติสถาปนิกที่ดี โดยการห้ามส่งช้ากว่ากำหนด หากส่งช้าจะไม่ได้คะแนนเลย หรือต้องทำใหม่นั่นเอง ด้วยระเบียบและพื้นฐานที่มากมายขนาดนี้ หลายคนช่วงปี 1มีความรู้สึกท้อแท้และรู้สึกเหนื่อยมากๆ แต่หากคุณผ่านไปได้ นั่นแหละคือความแข็งแกร่งและความรู้สึกดีที่เอาชนะตัวเอง
การเรียนสถาปัตย์ปีที่ 2 จุดเริ่มต้นของความเข้าใจสถาปัตยกรรม
ถ้าใครที่คิดว่าอยากไปลองเรียนสถาปัตย์ปี 1 แล้วค่อยคิดว่าจะซิ่วไหม ขอบอกก่อนเลยว่า เนื้อหาที่จะได้เรียนสถาปัตย์แบบเต็มตัว คือ ปี 2 ถ้าใครซิ่วไปนั่นส่วนใหญ่จะเป็นการอยากพักจากความเหนื่อยมากกว่า ในปีที่ 2 จะเป็นนปีที่เราเข้าใจภาพรวมของเราออกแบบสถาปัตย์มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้มากพอที่จะออกแบบหรือพลิกแพลงได้ดี ฉะนั้นโจทย์ที่อาจารย์สั่งจะเป็นอาคารบ้านพักอาศัยและอาคารสาธารณะขนาดเล็ก เพื่อทำให้เราคุ้นชินกับการพลิกแพลงการจัด ผังพื้น หรือ การประกอบสามมิติที่ตอบโจทย์ทั้งการใช้งาน ธรรมชาติ และความเหมาะสมกับทำเลให้ดี ถ้าหากถามว่าปีที่สองงานหนักไหม ต้องบอกว่า ขึ้นอยู่กับการปรับตัวในช่วงปีที่ 1 หากใครปรับตัวได้ดีก็จะทำงานได้ดีดว่าคนที่ปรับตัวช้า แต่ไม่ต้องห่วงการไม่ว่าจะปรับตัวได้มากแค่ไหน ทุกคนก็รู้แล้วว่า การทำงานให้เสร็จ 1 โปรเจคจะใช้เวลามากแค่ไหน อย่างน้อยไม่พร้อมก็ยังพอเตรียมใจได้ละกัน! สิ่งที่ได้เรียนรู้มากสุดในปีที่ 2 คือ จำนวนเวลาในการจบ 1 โปรเจค ถ้าถามว่าเรียนสถาปัตย์ทำไมนอนดึก ต้องจัดเวลาให้ได้สิ ความจริงคือมันจัดเวลาได้ส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม การเขียนสถาปัตยกรรมให้เข้าใจอาศัยเวลาที่เยอะมาก เนื่องจาก เราต้องเขียนภาพสองมิติทุกมุมเพื่อให้เห็นเป็นสามมิติ ลองนึกภาพว่าเราออกแบบเค้ก เราต้องผ่ากี่มุมล่ะ ถึงจะเขียนได้ละเอียดที่สุด สถาปัตยกรรมก็ใช้แรงแบบนั้นเลย แถมต้องเขียนตามสัญลักษณ์ให้ช่างหรืออาจารย์อ่านรู้เรื่องด้วยนะ
การเรียนสถาปัตย์ปีที่ 3 การรีเทิร์นของความรู้สึกปี 1
เนื่องจากปีที่ 3 เราจะต้องจัดรับน้องให้กับน้องๆสถาปัตย์ปีที่ 1 พร้อมกับโจทย์วิชา STUDIO ที่ต้องออกแบบสถาปัตยกรรมแบบสาธารณะระดับหลายพันตารางเมตร ทั้งหมดนี้ทำให้การจัดเวลาของเราแปรปรวนอีกครั้ง รวมไปถึงปีที่ 3 เป็นปีที่ต้องเรียนสถาปัตย์ด้วยอื่นควบคู่ไปด้วย ทั้งๆที่เราเรียนเอกสถาปัตย์ (ออกแบบอาคาร) ในปีนี้เราต้องเรียนการเขียนลายไทยของภาควิชาสถาปัตยกรรมไทย และเรียนbasic interior ด้วย ซึ่งทั้งสองวิชานี้งานเยอะมากนะ หากเป็นในอดีตวิชาออกแบบภายในจะต้องตัดโมเดลทั้งหลัง และต้องตัดเก้าอี้ โต๊ะ สุขภัณฑ์และ ทำสีให้ครบทุกผนังและทุกพื้นที่เลยนะ ทำเสร็จแทบจะไปขายโครงการขายบ้านได้เลย ฉะนั้น ปีที่ 3 จะเป็นอีกปีที่เราจะรู้สึกดีหากผ่านมันมาได้นะ
การเรียนสถาปัตย์ปีที่ 4 ความสบายจากความชำนาญ (และชินชา) กับการออกแบบ
ปีที่ 4 จะเรียนการออกแบบสถาปัตยกรรมขนาดหนึ่งหมื่นตารางเมตรขี้นไป หรือเรียกว่าอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ถ้าหากถามว่ายากไหม ก็ต้องตอบว่า ยากนะ ยิ่งเป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อนที่สุดอย่างโรงพยาบาล (ซึ่งต้องเจอแน่นอน) ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากที่สุดเท่าที่สถาปนิกคนหนึ่งจะเคยทำ แต่อย่างไรตาม ด้วยประสบการณ์ออกแบบสถาปัตยกรรมมาไม่ต่ำกว่า 5 อาคาร การจัดการงานให้เสร็จหรือจัดเวลา เป็นเรื่องที่ควบคุมได้ในที่สุด และวิชาอื่นๆที่ต้องเรียนเช่น FEASIBILITY (การคำนวนความคุ้มทุนในการสร้างสถาปัตยกรรม) PROFESSIONAL PRACTICE (การเรียนรู้จรรยาบรรณและการทำงานสถาปนิกในชีวิตจริง) INTRO TO URBAN DESIGN (การเรียนพื้นฐานการออกแบบสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมือง) INTRO TO LANDSPACE (การเรียนพื้นฐานการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม) ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิชาที่งานไม่เยอะมาก เน้นความเข้าใจ ทำให้ปีที่คือปีแห่งสวรรค์ของผู้เรียนสถาปัตย์เลยก็ว่าได้
การเรียนสถาปัตย์ปีที่ 5 ปีแห่งวิทยานิพนธ์ (THESIS) นรกที่มีอยู่จริงบนโลกแห่งสถาปัตย์
ปีสุดท้ายเป็นปีที่ทุกคนให้ความสนใจกับวิชาหนึ่งที่มีหน่วยกิตถึง 12 หน่วย (หาก F วิชานี้คือเรียนสถาปัตย์ปี 5 อีก 1 ปี) และจะให้เราเรียนวิชานี้วิชาเดียวเป็นเวลา 1 เทอมเต็ม ฉะนั้น ถ้าเทียบกับ MARVEL INFINITY SAGA นี่แหละคือ THANOS
การทำธีสิสนั้นคืออิสระของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถทำสถาปัตยกรรมแบบใดก็ได้ แต่ต้องมีขนาดมากกว่าหนึ่งหมื่นตารางเมตร และผู้เรียนสามารถเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาได้ตามใจชอบ เพื่อให้ความถนัดอาจารย์และจริตของอาจารย์แต่ละคน เข้ากันได้กับสไตล์และประเภทสถาปัตยกรรมที่เราทำ (ถ้าเข้าขากันไม่ได้จะเหนื่อยมาก) และเรามีเวลา 1 เทอมในการจัดการงานนี้ โดยจะส่งแบบร่างสถาปัตยกรรมที่เราออกแบบ 2 ครั้งต่ออาทิตย์ และอย่างที่รู้ว่า งานนี้ถ้าไม่ดี อาจจะต้องเรียนนทั้งปีใหม่อีก 1 รอบ ความเครียดที่ก่อจากตัวเราและความคาดหวังจากอาจารย์ก็จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ และสิ่งที่พีคที่สุดในชีวิตก็คนที่เรียนสถาปัตย์คือการนำเสนองานธีสิส เพราะการนำเสนอครั้งนี้ อาจารย์ทุกคนที่เคยสอนเรามาใน 5 ปี จะนั่งฟังเราทั้งหมด รวมไปถึงการเข้ามาฟังผู้อาวุโสในการทำงานด้านสถาปัตยกรรมที่ถูกรับเชิญ การนำเสนองานของเราจะถูกอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญอื่นประมาณ 30-40 ร่วมกันฟัง / ถาม / วิจารณ์งานของเราเมื่อเราได้นำเสนอเสร็จ ฉะนั้น ใครดีใครอยู่ครับงานนี้ ฉะนั้นชีวิตของคุณจะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของงานของเรา หากเราตั้งใจเรียนและทำงานมาตลอด ทีสิสกลับเป็นพื้นที่ที่คุณจะได้รับการชื่นชมและถือเป็นวันที่คุณประสบความสำเร็จที่สุดวันหนนึ่งเลยก็ว่าได้
และนี่คือชีวิตทั้ง 5 ปีของเราในการเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนะครับ