สรุป PODCAST EP.5 สัมภาษณ์สถาปัตย์ ด่านสุดท้ายก่อนติดคณะที่ต้องการ!!

บทความนี้เป็นการสรุปข้อมูลจาก time machine podcast EP.5 ของเรา หากใครต้องการฟังสบายๆ 20 นาที สามารถเข้าลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ 

Time Machine Podcast EP:5 สัมภาษณ์สถาปัตย์ สัมภาษณ์ให้ปัง อาจารย์จำเราขึ้นใจ คลิกเพื่อรับชม

ในการสัมภาษณ์คณะที่เรียนการออกแบบอย่างคณะสถาปัตย์ คณะนิเทศศิลป์ และอื่นๆ เราจะต้องเจอการสัมภาษณ์แน่นอนและในบางมหาวิทยาลัยการสัมภาษณ์เป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญที่สุดในการชี้วัดด้วย ในวันนี้เราจะมาลงลึกกับการสัมภาษณ์ของคณะเรียนออกแบบเหล่านี้กัน เพื่อให้น้องๆที่ได้อ่าน ได้โอกาสในการเตรียมตัวมากที่สุด !! 


การสัมภาษณ์คณะเรียนออกแบบต่างออกไปอย่างไร

การสัมภาษณ์คณะเรียนการออกแบบมีความแตกต่างจากคณะอื่นๆอย่างมาก เนื่องจากการสัมภาษณ์ส่วนหนึ่งจะเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับการทำพอร์ตฟอลิโอ เช่น พอร์ตสถาปัตย์ พอร์ตวาดรูป พอร์ตนิเทศศิลป์ ซึ่งคณะอื่นๆที่ไม่ใช่คณะเรียนการออกแบบนั้น จะไม่มีการถามส่วนนี้ และยังรวมไปถึงการถามคำถามกับผลงานที่เราได้ทดสอบความถนัดของแต่ละคณะด้วย ฉะนั้น เราจึงต้องเตรียมตัวส่วนนี้ให้ดีทั้งหมดเพื่อเพิ่มโอกาสที่อาจารย์จะเลือกเราเข้าคณะนนั่นเอง

ประเภทของคำถามในการสัมภาษณ์คณะเรียนออกแบบ

การสัมภาษณ์จะมีคำถามที่อ้างอิงจากผลงานของเรา

โดยคำถามที่ผู้สัมภาษณ์อ้างอิงมาจะมีสองแหล่งเป็นหลัก

1. พอร์ตฟอลิโอของเรา
ในส่วนนี้จะเป็นการตั้งคำถามเพื่อให้เราได้อธิบายงานของเราได้ชัดเจนมากขึ้น เราได้โอกาสพูดประเด็นที่น่าสนใจในงานของเราฉะนั้นสิ่งที่เราควรทำคือ พูดผลงานศิลปะหรือการออกแบบให้กระชับ จากประสบการณ์ของเราน้องๆส่วนใหญ่จะเริ่มเล่ารายละเอียดงานเลย และใช้เวลาพูดนาน ซึ่งต้องลองคิดอีกมุมว่า ถ้าผู้ฟังไม่เคยเห็นงานเราเลย แล้วต้องเริ่มฟังจากดีเทลเล็กๆ ผู้ฟังจะเสียสมาธิง่ายมากเพราะตามสิ่งที่เล่าไม่ทัน โดยของแนะนำให้ไล่ลำดับการอธิบายดังนี้
จุดเริ่มต้นงานหรือสมมติฐาน – ข้อมูลที่ได้ทำการค้นหา – คอนเสปงาน – รายละเอียดผลงานสุดท้าย
เท่านี้ก็ทำให้อาจารย์ตามความคิดเราทันแล้ว! มีชัยไปกว่าครึ่งแน่นอน
2. ผลงานการทดสอบความสามารถ (ถ้ามี)
ในส่วนนี้ อาจารย์จะถามความคิดเห็นในการตอบโจทย์ที่อาจารย์ให้ในมุมมองของเรา ฉะนั้นคำถามอะไรที่ถามเพื่อให้เราไขว้เขวกับสิ่งที่ได้ออกแบบไป ขอให้เรายึดมั่นในสิ่งที่ออกแบบไป ทั้งนี้เราไม่ได้หมายถึงให้มั่นใจไปทุกๆอย่าง หากส่วนไหนที่ทำพลาด ขอให้บอกอาจารย์ตรงๆว่าตอนนนั้นเกิดอะไรขึ้น หรือมีความคิดอย่างไร ต้องเชื่อก่อนว่าอาจารย์ไม่ได้ต้องการคนที่เก่งที่สุด แต่ต้องการคนที่มีความคิดของตนเอง และพร้อมเปิดในศึกษาการออกแบบไปพร้อมกัน ฉะนั้นคิดซะว่าการสอบนั้นเป็นการทดลองความคิดของเรา การสัมภาษณ์ก็ขอให้มันใจกับสิ่งที่ทำ และถ้าอาจารย์เฉลยหรือสอนอะไรก็ขอให้แสดงความเคารพอาจารย์และพร้อมเรียนรู้กับการสอนของอาจารย์นะครับ

และคำถามอีกประเภทหนึ่งคือ คำถามที่อาจารย์ต้องการถามด้วยตนเอง โดยจะแบ่งเป็นสองประเภทดังนี้

1. คำถามที่เป็นบทที่จะถามจากผู้สัมภาษณ์ทุกคน
คำถามประเภทนี้จะเกิดในบางที่เท่านั้น โดยส่วนใหญ่คำถามแบบนี้จะเป็นการให้เราวิเคราะห์งานออกแบบหรือศิลปะ เพื่อให้เราได้แสดงความคิดเห็นออกมามากที่สุด ฉะนั้นเวลาเราตอบ เราควรตอบเป็นลักษณะการวิเคราะห์ ไม่ใช่การชมนะ การตอบว่า สวย สีสดใส เส้นดี ไม่ช่วยในการได้คะแนนนะครับ เราควรวิเคราะห์องค์ประกอบศิลป์ การเดาความคิดความรู้สึกจากภาพ โดยอ้างอิงจาก ทฤษฎี ฉะนั้นใครไม่เป๊ะส่วนนี้ ควรหาข้อมูลไว้นะ หรือหาโรงเรียนนที่สอนศิลปะในรูปแบบนี้ ที่ไม่ใช่การสอนแบบ สวยไม่สวยนะครับ
2. คำถามที่ไม่ได้อยู่ในบท ไม่ได้เตรียม แต่มีโอกาสถามบ่อย
คำถามกลุ่มนี้เหมือนเป็นคำถามที่ถามเป็นประจำของอาจารย์ ส่วนใหญ่คำถามจะเป็นความสนใจต่อด้านการออกแบบของเรา หรือคำถามที่อยากให้เราแสดงความสนใจต่อคณะนั้นๆออกมา เช่น ชอบสถาปนิกคนไหนน ชอบศิลปินคนใด ศิลปะกับการออกแบบต่างกันอย่างไร คิดยังไงก็ศิลปะในปัจจุบัน
คำถามกลุ่มนี้อาจจะยากหน่อยเพราะคาดเดาไม่ได้ และอาจจจะต้องท่องจำสำหรับบางคน แต่เราเชื่อว่าความ passion ของน้องๆที่ยื่นเท่านั้นที่จะช่วยคำถามกลุ่มนี้ได้ ถ้าเราสนใจคณะนี้จริงๆ การหาข้อมูลไม่ใช่เรื่องยากเลย อาจจะเริ่มหาจาก เว็บไซต์ข่าวสารวงการศิลปะ สถาปัตย์ แบบนี้ได้เลย

ชอบสถาปนิกคนไหนน ชอบศิลปินคนใด ศิลปะกับการออกแบบต่างกันอย่างไร คิดยังไงก็ศิลปะในปัจจุบัน 

คำถามกลุ่มนี้อาจจะยากหน่อยเพราะคาดเดาไม่ได้ และอาจจจะต้องท่องจำสำหรับบางคน แต่เราเชื่อว่าความ passion ของน้องๆที่ยื่นเท่านั้นที่จะช่วยคำถามกลุ่มนี้ได้ ถ้าเราสนใจคณะนี้จริงๆ การหาข้อมูลไม่ใช่เรื่องยากเลย อาจจะเริ่มหาจาก เว็บไซต์ข่าวสารวงการศิลปะ สถาปัตย์ แบบนี้ได้เลย

สุดท้ายนี้อย่าลืม สิ่งที่สำคัญที่สุดของการสัมภาษณ์คณะเรียนออกแบบมากกว่าการรู้คำถามทั้งมวลคือ บุคลิกความมั่นใจ eye-contact ความชัดถ้อยชัดคำ และการพูดอย่างรู้เรื่อง ตรงนี้สำคัญมาก หากมีจุดไหนที่เริ่มพูดไม่รู้เรื่อง หรือตะกุกตะกัก ให้ขอเวลา 3-5 วินาทไปเลย เพื่อดึงความมั่นใจกลับมา

สู้ๆนะครับ เตรียมพร้อมกันให้ดีหล่ะ!

การตั้งค่าคุ้กกี้

เราใช้คุ้กกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์อย่างดีที่สุดให้กับคุณ รวมถึงคุ้กกี้จำเป็นสำหรับดำเนินงานของเว็บไซต์ และเพื่อจัดการวัตถุประสงค์ทางการค้า รวมถึงคุ้กกี้อื่นๆ ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติโดยไม่ระบุตัวตน สำหรับการตั้งค่าเว็บไซต์ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้นหรือสำหรับการแสดงเนื้อหาส่วนบุคคล คุณมีอิสระในการตัดสินใจเลือกหมวดหมู่ที่คุณต้องการ โปรดทราบว่าฟังก์ชั่นของเว็บไซต์บางส่วนอาจทำงานไม่เต็มรูปแบบซึ่งขึ้นอยู่กับการตั้งค่าคุ้กกี้ของคุณ คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

  • จำเป็น

    คุ้กกี้เหล่านี้มีความจำเป็นต่อการใช้งานฟังก์ชั่นหลักของเว็บไซต์นี้ เช่น ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย คุ้กกี้เหล่านี้เราสามารถตรวจสอบได้ หากคุณต้องการที่จะอยู่ในระบบเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงบริการของเราได้อย่างรวดเร็วหลังจากเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราแล้ว

  • สถิติ

    เพื่อการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เราจึงมีการติดตามข้อมูลอย่างไม่ระบุตัวตนเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล คุ้กกี้เหล่านี้ทำให้เราสามารถติดตามจำนวนการเข้าชมที่ส่งผลกระทบต่อหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ