การขึ้นแบบจำลอง หรือ โมเดลนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการเรียนสถาปัตย์ และการทำโมเดลนั้น ในปัจจุบันมีเครื่องมือช่วยเหลือหลายรูปแบบมาก โดยจุดประสงค์คือ การลดเวลาการทำงานของผู้ที่เรียนสถาปัตย์หรือแม้แต่สถาปนิกก็ตาม หรือแม้แต่ผู้ที่ทำพอร์ตฟอลิโอสำหรับการยื่นเรียนสถาปัตย์ด้วย ฉะนั้น เรามาเรียนรู้กันดีกว่าว่าโมเดลสถาปัตย์สำคัญกับการส่งงานยังไง และ เครื่องมือใดบ้างที่จะสามารถช่วยเราขึ้นแบบโมเดลได้ดีและเร็วที่สุด
โมเดลสำคัญกับการเรียนสถาปัตย์อย่างไร
โมเดลหรือแบบจำลองสถาปัตย์เป็นสิ่งที่จำเป็นในการส่งงานอาจารย์หรือแม้แต่ส่งงานลูกค้าก็ตาม เพราะว่า โมเดลเป็นหนึ่งในวิธีการสื่อสารการออกแบบของเราในเรื่องของภาพรวมของงานหรือแม้แต่การแสดงความสวยของหน้าตาอาคารของเรา แต่อย่างไรก็ตาม การตัดโมเดลนั้น อาจมีความจำเป็นน้อยที่สุดกับการก่อสร้างสถาปัตยกรรมเลยก็ว่าได้ เพราะการตัดโมเดลนั้นไม่สามารถโชว์ระยะจริงได้ดีเท่าที่จะนำไปก่อสร้าง และก็ไม่สามารถเห็นการขยายดีเทลวัสดุได้นั่นเอง ฉะนั้น ในการส่งงานเมื่อเรียนสถาปัตย์ หรือการทำงานจริง จะมีโมเดลสองประเภทที่เราทำกันคือ PRESENTATION MODEL และ STUDY MODEL
PRESENTATION MODEL
โมเดลประเภทนี้เราจะตัดให้เหมือนจริงที่สุดในเรื่องของหน้าตา การตกแต่ง เพื่อแสดงให้ลูกค้าเห็นถึงอาคารโดยรวม เพื่อประกอบการตัดสินใจ เนื่องจากการอ่านแบบอาจสื่อสารหน้าตาได้ไม่เข้าใจทั้งหมดนั่นเอง
STUDY MODEL
โมเดลประเภทนี้คือ การสร้างแบบเพื่อให้ตอบโจทย์การทดลองของตัวสถาปนิกเอง การตัดโมเดลอาจจะกำลังหาคำตอบในเรื่องของ รูปทรง แสงเงา หรือระบบการประกอบ หรือการทดลองตัดรายละเอียดขนาดจริง เพื่อให้ชัวร์ว่าสิ่งที่ออกแบบนั้นตรงไปตามสิ่งที่ตั้งใจไว้ ไม่ผิดพลาดในการทำงานจริง
เมื่อเราเข้าใจแล้ว เรามาดูกับดีกว่าว่าอุปกรณ์และเครื่องมืออันไหนที่ช่วยการขึ้นแบบจำลองหรือโมเดลเมื่อเรียนสถาปัตย์ได้ดี
LASER CUTTING
การเลเซอร์คัทเป็นการตัดแผ่นชื้นงานหนึ่งให้เป็นตามรูปที่เราต้องการ หน้าที่ของมันใกล้เคียงกับการตัดคัทเตอร์ลงบนวัสดุเพื่อตัด หรือ สลัก รูปร่างที่เราต้องการลงในชิ้นงาน แต่การตัดนั้นจะเปลี่ยนเป็นการยิงแสงเลเซอร์เพื่อให้วัสดุขาดนั่นเอง ข้อดีของการเลเซอร์คัทคือ เราไม่จำเป็นต้องตัดชิ้นงานด้วยมือของเราเอง เราสามารถขึ้นแบบในการตัดโดยการลากเส้นในโปรแกรม Autocad หรือ Illustrator ตามที่เราต้องการ โดยสามารถลงความละเอียดของระยะห่างระหว่างเส้นได้ถึง 1 มม ฉะนั้น งานโมเดลของที่ใช้ในการเรียนสถาปัตย์หรือแม้แต่ส่งงานลูกค้า จะมีความละเอียดมากนั่นเอง การเลเซอร์ยังสามารถสร้างงานโมเดลที่ต้องการความแม่นยำของรอบต่อได้ด้วย เช่น การขัดกันของกระดาษหนาเพื่อขึ้นเป็นรูปทรง เราจะสามารถทำสลักที่เสียบกันได้พอดีได้นั่นเอง
การเลเซอร์คัทนั้นมีข้อจำกัดเช่นเดียวกัน นั่นคือเรื่องของวัสดุ โดยวัสดุที่สามารถเลเซอร์คัทได้จะต้องเป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟ และ ไม่ละลายเมื่อโดนความร้อนทันที เช่น กระดาษชานอ้อย กระดาษร้อยปอนด์ แผ่นไม้อัด MDF แผ่นพลาสติกอะคริลิค เป็นต้น ฉะนั้น การเลือกใช้วัสดุในการแสดงสถาปัตยกรรรมของเราอาจจะมีข้อจำกัดขึ้นมาบ้าง แต่เทียบกับเวลาสำหรับการส่งงานเมื่อเรียนสถาปัตย์หรือทำงานด้านสถาปัตย์ ความคุ้มค่าต่อเวลาต่างกันมากๆเลย
ค่าใช้จ่ายสำหรับการสั่งทำเลเซอร์คัท ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับสองปัจจัย
ปัจจัยที่ 1 คือ เวลาในการตัด การคิดเงินการตัดเลเซอร์ ทางร้านจะตั้งราคาต่อนานทีไว้ และเมื่อเราส่งไฟล์ ทางร้านจะอาจจะเสนอราคาไปก่อนหรือไม่ก็ได้ แต่การตัดทุกครั้งจะมีนาทีกำกับไว้ที่เครื่องเสมอ ฉะนั้น การคิดเงิน ทางร้านก็จะทำนาทีที่ตัดทั้งหมดคูณกับราคาต่อนาทีที่ทางร้านตั้งไว้นั่นเอง
ปัจจัยที่ 2 คือ ความหนาวัสดุ ในส่วนของราคาต่อนาทีที่ทางร้านตั้ง ส่วนใหญ่แล้วจะมีการกำกับไว้ด้วยความวัสดุนั้นๆ จะคิดราคาเท่าไหร่ บางร้านก็จะคิดราคาส่วนนี้ตามความหนาวัสดุแทนนั้นเอง อย่างไรก็ตาม ราคาเบื้องต้นของการตัดเลเซอร์คัทกับวัสดุง่ายๆ อย่างการดาษที่ไม่หนาเกิน 2 มม ราคาจะอยู่ที่ 20-30 บาทต่อนาที ฉะนั้น ราคาอาจจะแพงอยู่บ้าง แต่แลกกับเวลาส่งงานในการเรียนสถาปัตย์ เวลาที่ทดไป อาจจะคุ้มค่าและไม่เปลืองแรงเรานั่นเอง