INDA จุฬา คือคณะอะไร เรียนอะไรกันแน่ ล้างความเชื่อผิดๆต่อคณะอินเตอร์นี้กัน

เราเชื่อว่าทุกคนที่คลิกเข้ามาใน article นี้ ต้องเคยได้นยินนคำว่า inda จุฬา มาบ้างแล้ว แต่เราเชื่อว่าทุกคนอาจยังไม่แน่ใจว่ามันคือคณะอะไรกันแน่ มันเป็นสถาปัตย์ที่ออกแบบ interior หรือเปล่า มันเอาหลักสูตรมาแปลเป็นอังกฤษหรือเปล่า วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันครับ

 Inda เป็นคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย inda จุฬา นี้ย่อมาจาก INTERNATIONAL PROGRAM IN DESIGN & ARCHITECTURE ถ้าแปลตรงตัวแล้วก็เหมือนเป็นคณะสถาปัตย์และการออกแบบ สอบแบบอินเตอร์นนั่นเอง แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่แค่นั้น ด้วยข้อมูลที่จำกัดนี้ ทำให้เราไม่แน่ใจว่าเรียนอะไรกันแน่ หรือเกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อคณะนี้ขึ้นมา และวันนี้เราจะมาไขข้อทุกสงสัยและความเชื่อที่ไม่ถูกต้องกัน

INDA จุฬา คืออะไรเรียนสถาปัตย์หรือเปล่า

อย่างที่เราทราบว่า INDA ย่อมาจาก INTERNATIONAL PROGRAM IN DESIGN & ARCHITECTUREฉะนั้นคณะนี้จะเน้นการออกแบบเป็นหลักพร้อมเรียนเนื้อหาด้านสถาปัตยกรรมด้วย ความหมายคือ เราจะเรียนระบบและกระบวนการการการออกแบบเป็นหลัก โดยจะนำความรู้ด้านสถาปัตยกรรมตอบโจทย์สุดท้ายที่เราต้องการ ฉะนั้น ใช่แล้ว INDA สอนสถาปัตยกรรม เพียงแต่เราไม่ได้เน้นให้เป็นระบบวิชาชีพ ไม่ได้เรียนให้ถึงการลงลึกของการสร้าง การประกอบวัสดุ หรือการคำนวณราคา แต่ลงเน้นใส่ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบที่ตอบโจทย์ที่สุด โดยนำสถาปัตยกรรมมาเป็นผลลัพธ์นั่นเอง

INDA จุฬา เรียนออกแบบภายในหรือเปล่า หรือเรียนอะไร

Inda จุฬา เป็นคณะแรกที่เกิดขึ้นมาโดยไม่ได้แบ่งว่าคุณกำลังเรียนการออกแบบที่จำกัดในขนาดใด ( เช่น สถาปัตย์ออกแบบอาคาร สถาปัตย์ออกแบบภายใน สถาปัตย์ออกแบบlandscape ) เพราะในทุกๆประเภทนั้นมีความเชื่อมโยงกันหมด และหากจะออกแบบให้มีประสิทธิภาพ การจำกัดขอบเขตอาจเป็นการขัดขวางการออกแบบที่สมบูรณ์

 ก่อนเราจะอธิบายลงลึกไปกว่านี้ เราขอแจ้งก่อนว่า เราไม่ได้บอกว่าการแบ่งภาควิชาเป็นเรื่องที่ผิด แต่เราอยากให้มองภาพใหญ่ไปตามเราก่อน หากเราเทียบ inda จุฬา กับคณะสถาปัตย์ภาคไทย เราเชื่อว่าสองภาควิชานี้มีจุดประสงค์ต่างกัน โดยภาคไทยกำลังมุ่งเน้นสร้างระบบวิชาชีพ ซึ่งวิชาชีพด้านสถาปัตย์นั้นมีแบ่งขอบเขตการทำงานอย่างชัดเจน ฉะนั้นการเรียนจจึงจจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการออกแบบในขอบเขตของตัวเองอย่างชัดเจนรวมถึงรู้กฏเกณฑ์และกฏหมายอย่างถี่ถ้วน ในคณะที่ inda จุฬา นั้นมุ่งเน้นการสร้างระบบความคิดและการออกแบบเป็นหลัก โดยจะเน้นการฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายได้อย่างมีมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นหาก INDA จุฬา กำหนดขอบเขตขึ้นมา การออกแบบอาจไม่ได้รับประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

CU-TAD, PAT4

INDA จุฬา ออกแบบอะไรเพี้ยนๆ ใช้ไม่ได้จริง มีแต่คอนเสป เรียนภาคไทยจบมาเก่งกว่า

จากเนื้อหาด้านบนเราจะเห็นจุดประสงค์ของคณะนี้ที่ต้องการผลักดันระบบความคิดเป็นหลัก คราวนี้เราว่าวิเคราะห์ความเชื่อที่สองนี้ที่บอกว่า เพี้ยน ใช้ไม่ได้จริง จริงๆแล้วมันเป็นจริงส่วนหนึ่ง สถาปัตยกรรมเป็นศาสตร์หนึ่งที่มีข้อจำกัดมาก จากรที่ต้องก่อสร้างอยู่บนพื้นโลกที่มีผลกระทบจากภัยธรรมชาติมากมาย  ฉะนั้นการออกแบบที่พลิกแพลงมากอาจส่งผลกับการก่อสร้างที่สร้างจริงไม่ได้หรือต้องเพื่อนราคาก่อสร้างมหาศาล แต่ถ้าเรามองกลับกัน INDA จุฬา ให้ความสำคัญกับการออกแบบพื้นที่ 3 มิติ ซึ่งสถาปัตยกรรมเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น และ หากพูดถึงการออกแบบ 3 มิติแล้วนั้น แค่เปลี่ยนสีห้องก็ส่งผลแล้ว ฉะนั้น การออกแบบแบบ INDA อาจกำลังแก้ปัญหาด้วยวิธีประหลาด โดยปรับเปลี่ยนพื้นที่เพียงเล็กน้อย ไม่ต้องสร้างของใหม่อย่างเดียวแบบภถาคไทยละได้งานที่เวิคก็เป็นได้ หรืองานอาจจะเพี้ยนและมีส่วนที่เป็นไปไม่ได้อยู่บ้าง แต่เนื้อหาหลัก เค้ากำลังลงลึกถึงการตอบโจทย์ CONCEPT ให้ตรงตัวที่สุด แล้วใครจะรู้ การออกแบบที่ตอบโจทย์แบบ INDAอาจจะมีค่ากับมนุษย์มากพอในการลงทุนสร้างจริงก็เป็นได้ และหากเรายึดกับการสร้างจริงมากเกินไป และตัดไอเดียแก้ปัญหาที่ดีที่สุดออก การออกแบบนั้นอาจไม่มีค่าเพียงพอถึงแม้จะสร้างจริงได้ก็เป็นได้

INDA เรียนแล้วไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพ ทำงานจริงไม่ได้

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดย่างหนึ่งที่หลายๆคนตัดสินใจไม่เลือก INDA จุฬา เพราะกลัวว่าจะไม่สามารถทำงานได้ เพราะไม่มีใบประกอบวิชาชีพ เราจะมีทำความเข้าใจเรื่องนี้กัน
ใบประกอบวิชาชีพเป็นสิ่งที่ผู้เรียนที่อยู่ในหลักสูตรที่สภาสถาปนิกรองรับจะได้รับสิทธิ์ในการเข้าสอบใบประกอบเมื่อเรียนจบ (ครบ 5 ปี) แต่ INDA จุฬาเป็นหลักสูตรที่เรียน 4 ปี จึงเป็นการเรียนที่ยังไม่ครบหลักสูตรทั้งหมอที่สภาบังคับ อย่างไรก็ตาม คนที่เรียนจบ INDA มีโอกาสได้รับสิทธิ์ด้วยเช่นกันถ้าหากทำตามข้อดังนี้
1. เรียนต่อปริญญาโท ที่มีวิชาตามที่สภารองรับ
2.ทำงานในออฟฟิศสถาปนิกครบ 2 ปี
เท่านี้ ผู้ที่จบ INDA จุฬาก็มีโอกาสสอบและได้รับใบประกอบวิชาชีพแล้ว

และที่สำคัญ เราต้องตั้งคำถามต่อว่า แล้วใบประกอบวิชาชีพนั้นได้ใช้จริงไหม คำตอบคือ เราจะได้ใช้จริงก็ต่อเมื่อ เราได้ทำงานโปรเจคของตัวเอง หรือเปิดออฟฟิศของตัวเองนั่นเอง เพราะการเซ็นคือการรับความเสี่ยงของความถูกต้องและปลอดภัยของการก่อสร้าง ฉะนั้น หากเราอยู่ในออฟฟิศ เราจะได้เซ็น เพียงแต่จะเป็นผู้ร่วมงานเพื่อลดความเสี่ยง ให้ผู้เซ็นหลักเป็นคนรับผิดชอบ และเราที่เซ็นรอง เราจะได้รับคะแนนในการเพิ่มระดับการวุฒิของเรา และหากเรายังไม่ได้สอบใบประกอบ เราก็ทำงานได้เหมือนกันเลย ฉะนั้นไม่ต้องเป็นห่วงว่าไม่มีงานทำ เพราะไม่มีผลในการรับสมัครแน่นอน

หวังว่าคอนเทนต์นี้จะตอบโจทย์ข้อสงสัยทั้งหมดเกี่ยวกับ INDA นะครับ

Art skill course

การตั้งค่าคุ้กกี้

เราใช้คุ้กกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์อย่างดีที่สุดให้กับคุณ รวมถึงคุ้กกี้จำเป็นสำหรับดำเนินงานของเว็บไซต์ และเพื่อจัดการวัตถุประสงค์ทางการค้า รวมถึงคุ้กกี้อื่นๆ ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติโดยไม่ระบุตัวตน สำหรับการตั้งค่าเว็บไซต์ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้นหรือสำหรับการแสดงเนื้อหาส่วนบุคคล คุณมีอิสระในการตัดสินใจเลือกหมวดหมู่ที่คุณต้องการ โปรดทราบว่าฟังก์ชั่นของเว็บไซต์บางส่วนอาจทำงานไม่เต็มรูปแบบซึ่งขึ้นอยู่กับการตั้งค่าคุ้กกี้ของคุณ คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

  • จำเป็น

    คุ้กกี้เหล่านี้มีความจำเป็นต่อการใช้งานฟังก์ชั่นหลักของเว็บไซต์นี้ เช่น ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย คุ้กกี้เหล่านี้เราสามารถตรวจสอบได้ หากคุณต้องการที่จะอยู่ในระบบเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงบริการของเราได้อย่างรวดเร็วหลังจากเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราแล้ว

  • สถิติ

    เพื่อการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เราจึงมีการติดตามข้อมูลอย่างไม่ระบุตัวตนเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล คุ้กกี้เหล่านี้ทำให้เราสามารถติดตามจำนวนการเข้าชมที่ส่งผลกระทบต่อหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ