สถาปนิกต้องร่วมงานกับใครบ้าง

สถาปนิกเป็นอาชีพที่ต้องร่วมงานกับหลากหลายภาคส่วนอย่างมาก ตั้งเเต่การทำงานในขั้นตอนเเรกไปจนอาคารก่อสร้างแล้วเสร็จ ล้วนไม่สามารถทำทุกอย่างได้เพียงคนเดียว โดยกลุ่มคนที่สถาปนิกแต่ละคนจะต้องมีโอกาสได้ร่วมงานนั้นมักประกอบด้วยบุคคลหลักๆ ดังนี้
1. สถาปนิกในทีม
2. นักออกแบบสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. วิศวกร
4. ผู้รับเหมา
5. เจ้าของโครงการ

1. สถาปนิกในทีม
ในหลายๆโครงการการออกแบบสถาปัตยกรรม มีสถาปนิกผู้ดูแลมากกว่า 1 คน เเทบทั้งสิ้น โดยมักจะมีการทำงานเป็นทีม แบ่งส่วนรับผิดชอบกันและมีการแลกเปลี่ยนเเนวความคิดใหม่ๆกันเสมอโดยเฉพาะสถาปนิกที่ทำงานอยู่ในบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมต้องร่วมงานกับสถาปนิกหลากหลายวัย ตั้งเเต่เจ้านาย หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง ดังนั้น การรับฟังและเปิดกว้างต่อไอเดียของสมาชิกทีมออกแบบเป็นเเรงขับเคลื่อนที่ดีในการสร้างบรรยากาศของทีมออกแบบที่ดี ส่งผลให้เกิดผลงานสถาปัตยกรรมที่ดีตามไปด้วย การทำงานเป็นทีมจึงถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่สถาปนิกทุกคนพึงมี

2. นักออกแบบสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
นอกจากสถาปนิกซึ่งเป็นผู้ร่วมออกแบบที่ว่างทางสถาปัตยกรรมเเล้วนั้น ยังมีอีกหลายภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อการออกแบบสถาปัตยกรรม นักออกแบบสาขาต่างๆ เหล่านั้นจะเข้ามาช่วยออกแบบเนื้องานในส่วนที่ย่อยลงไปที่สถาปนิกผู้ดูภาพรวมนั้นอาจไม่สามารถศึกษาออกแบบลงลึกไปได้ ได้เเก่ งานสถาปัตยกรรมภายใน งานออกเเบบภูมิสถาปัตยกรรม งานออกแบบดวงโคมและแสงสว่าง งานออกแบบกราฟิกบอกทาง หรือรวมไปถึงงานออกแบบผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ สถาปนิกที่สามารถประสานงานได้เก่งเกิดการพูดคุยกันในทีมของนักออกแบบหลายภาคส่วนที่ดี จะส่งผลให้งานออกแบบสถาปัตยกรรมในภาพรวมออกมาเป็นหนึ่งเดียวและมีคุณภาพ

3. วิศวกร
วิศวกรเป็นผู้ที่ทำงานคู่กับสถาปนิกในหลายขั้นตอนของการออกแบบ เป็นผู้ทำให้ความฝันของสถาปนิกเป็นจริงขึ้นได้ ในงานสถาปัตยกรรมเราจะมีการประสานงานกับวิศกรสาขาต่างๆ ได้เเก่ วิศวกรโครงสร้าง วิศวกรงานระบบไฟฟ้า วิศวกรงานระบบประปา เป็นหลัก แต่ในโครงการบางโครงการอาจมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพิ่มเข้ามาอีกได้ ตัวอย่างเช่น วิศวกรผู้คำนวณเรื่องของการสัญจรภายในโครงการ เป็นต้น การประสานงานกับวิศวกรเป็นเรื่องที่ต้องประสานงานให้ดีเนื่องจากการประสานงานที่ขาดประสิทธิภาพจะส่งผลให้เกิดการขัดกันของเเบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมเเละวิศวกรรมขึ้นได้ ดังนั้น สถาปนิกควรตรวจทานเเบบก่อสร้างต่างๆ และต่อรองพูดคุยกับวิศวรถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ไม่เป็นไปตามแบบที่ได้ออกแบบไว้ แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องอยู่ในพื้นฐานความถูกต้องทางวิศวกรรมด้วยเช่นกัน

4. ผู้รับเหมาก่อสร้างอาคาร
ผู้รับเหมาเป็นผู้ที่จะนำแบบก่อสร้างไปก่อสร้างจริง จัดทำราคาการก่อสร้างต่างๆ สถาปนิกควรเข้าไปตรวจไซต์งานก่อสร้างเรื่อยๆ เพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้องของงานสถาปัตยกรรม และการเลือกใช้วัสดุจริงว่าถูกต้องตามที่ได้กำหนดไว้ในแบบหรือไม่

5. เจ้าของโครงการ
เป็นเจ้าของเงินลงทุนในการก่อสร้างโครงการ ดังนั้น จึงถือเป็นผู้กำหนดทิศทางภาพใหญ่ของโจทย์เลยก็ว่าได้ สถาปนิกควรวิเคราะห์ถึงความต้องการของเจ้าของโครงการให้ตรงจุด แล้วใช้ความคิดสร้างสรรค์เสนอแนวทางการออกแบบที่ตอบโจทย์และต่อยอดเป้าหมายของโครงการให้ไปได้ไกลมากยิ่งขึ้น

การตั้งค่าคุ้กกี้

เราใช้คุ้กกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์อย่างดีที่สุดให้กับคุณ รวมถึงคุ้กกี้จำเป็นสำหรับดำเนินงานของเว็บไซต์ และเพื่อจัดการวัตถุประสงค์ทางการค้า รวมถึงคุ้กกี้อื่นๆ ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติโดยไม่ระบุตัวตน สำหรับการตั้งค่าเว็บไซต์ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้นหรือสำหรับการแสดงเนื้อหาส่วนบุคคล คุณมีอิสระในการตัดสินใจเลือกหมวดหมู่ที่คุณต้องการ โปรดทราบว่าฟังก์ชั่นของเว็บไซต์บางส่วนอาจทำงานไม่เต็มรูปแบบซึ่งขึ้นอยู่กับการตั้งค่าคุ้กกี้ของคุณ คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

  • จำเป็น

    คุ้กกี้เหล่านี้มีความจำเป็นต่อการใช้งานฟังก์ชั่นหลักของเว็บไซต์นี้ เช่น ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย คุ้กกี้เหล่านี้เราสามารถตรวจสอบได้ หากคุณต้องการที่จะอยู่ในระบบเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงบริการของเราได้อย่างรวดเร็วหลังจากเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราแล้ว

  • สถิติ

    เพื่อการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เราจึงมีการติดตามข้อมูลอย่างไม่ระบุตัวตนเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล คุ้กกี้เหล่านี้ทำให้เราสามารถติดตามจำนวนการเข้าชมที่ส่งผลกระทบต่อหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ