เรียนสายศิลป์ เรียนสถาปัตย์ได้ไหม

ช่วงนี้เป็นช่วงสำคัญในการยื่น portfolio ของการสอบเข้ารอบ TCAS1 ของน้องๆ ที่มีความใฝ่ฝันอยากเข้าเรียนคณะสถาปัตย์กันเเล้ว ทำให้มีคำถามยอดฮิตมากมายที่ถามเข้ามาทางพี่ๆ time machine studio โดยมีหลายคำถามมีความน่าสนใจไม่น้อย หนึ่งในนั้นคือคำถามที่ว่า ถ้าหากเรียนสายศิลป์มาในช่วง ม.ปลาย จะสามารถเรียนสถาปัตย์ได้ไหม? พี่ๆมองว่าเป็นคำถามที่น่าสนใจเเละอยากขอชี้เเจงให้น้องๆ ทราบเเยกเป็นสองประเด็น ดังนี้ 

การเรียนสายศิลป์กับการสอบเข้าคณะสถาปัตย์

หากพูดถึงโอกาสในการสอบเข้าสถาปัตย์ของน้องๆที่เรียนสายศิลป์ไม่ว่าจะเป็นสายศิลป์-คำนวณ หรือ ศิลป์-ภาษา ต้องกล่าวว่า ล้วนมีโอกาสที่จำกัดกว่าน้องๆ ที่เรียนสายวิทย์อย่างเเน่นอนเนื่องจากในบางมหาวิทยาลัยได้ระบุเงื่อนไขในการเปิดรับสมัครไว้ว่า เป็นผู้มีหน่วยกิตในวิชาวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิจนั่นเอง เเต่อย่าเพิ่งตกใจไปเนื่องจากรายวิชาวิทยาศาสตร์ในกรณีนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นวิทยาศาสตร์ในระดับของเด็กสายวิทย์อย่างเดียวเท่านั้น เเต่รวมถึงทุกๆ วิชาที่จัดอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นั่นเอง ทำให้น้องๆ สายศิลป์ที่มีจำนวนหน่วยกิตถึงมีจำนวนมากในปัจจุบัน ประกอบกับเเนวโน้มที่หลายๆ มหาลัยเริ่มปรับลดเงื่อนไขของการรับสมัครลงเรื่อยๆ ทำให้ในอนาคตมีความน่าสนใจว่าการรับสมัครนักเรียนสถาปัตย์จะเป็นไปในรูปแบบใด

SCSAD - Time Machine Studio
SCSAD - Time Machine Studio
sven mieke fteR0e2BzKo unsplash - Time Machine Studio

การเรียนสายศิลป์กับการเรียนการสอนคณะสถาปัตย์

ในการเรียนในคณะสถาปัตย์มีหลายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาฟิสิกส์ในช่วง ม.ปลาย ได้เเก่ วิชาการคำนวณโครงสร้างอาคารเเละการเข้าใจพฤติกรรมการถ่ายเเรงพื้นฐานของเเต่ละโครงสร้าง โดยเเน่นอนว่าพื้นฐานของเด็กๆ สายวิทย์จะช่วยสร้างความเข้าใจที่เร็วกว่าอย่างเเน่นอน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า น้องๆ ที่เรียนสายศิลป์จะเรียนไม่ได้ เนื่องจากการคำนวณโครงสร้างที่นักเรียนสถาปัตย์เรียนกันนั้น เป็นเพียงการคำนวณขั้นพื้นฐานให้เข้าใจคอนเซ็ปต์โดยสังเขปเท่านั้น และมีเนื้อหาที่ไม่ซับซ้อนมาก อาจารย์ผู้สอนมักเป็นอาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมโยธาที่จะอธิบายเนื้อหาในระดับที่สถาปนิกควรจะรู้เเละใช้ประยุกต์เท่านั้น ดังนั้น การเรียนการสอนที่เน้นความเข้าใจนี้ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อนิสิตนักศึกษาสถาปัตยกรรมหลายๆคนที่มาจากสายศิลป์นั่นเอง ในทางกลับกันหากเป็นคนที่มีความสนใจเรื่องของโครงสร้างเป็นพิเศษเเล้วล้วนทำผลการเรียนออกมาได้อย่างดีเยี่ยม บางคนถึงกับได้คะแนนระดับท็อปของรุ่นเลยก็ว่าได้

ข้อเสนอแนะต่อน้องๆที่สนใจอยากเรียนสถาปัตย์

สำหรับน้องๆ ม.3 ที่กำลังขึ้น ม.4 ถ้าเรียนสายวิทย์ไหว อยากให้สู้เเละลุยไปทางสายวิทย์เนื่องจากจะเป็นเเนวทางที่เหมาะกับการสอบเข้าสถาปัตย์ที่สุดเเล้ว แต่สำหรับน้องๆที่เลือกเรียนสายศิลป์ไปเเล้วก็ไม่ได้สายเกินไป หากถามตัวเองว่าสนใจเเละชอบสถาปัตยกรรมจริงๆเเล้วก็สามารถเรียนได้ครับ ถ้าน้องๆคนไหนที่ตัดสินใจได้เร็ว รู้ตัวเร็วเเละอยู่สายศิลป์อยากให้ลองไปศึกษาวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติมเเค่บางเรื่อง อย่างเช่น เรื่องสมดุลกลต่างๆ เนื่องจากเป็นเนื้อหาที่ไม่ยากเเละเป็นพื้นฐานสำคัญของสถาปนิก เเต่จริงๆเเล้วไม่ได้สำคัญว่าน้องๆจะเรียนอยู่สานไหน เเต่ทั้งหมดสำคัญที่ว่าน้องชอบออกแบบสถาปัตยกรรมจริงหรือไม่ ถ้าชอบเเละสนใจจริงๆขอให้ตั้งใจในการทำ portfolio และหมั่นหาความรู้ทางสถาปัตยกรรมอยู่เสมอ พี่ๆ เชื่อว่าน้องๆ จะไปได้ไกลเเละประสบความสำเร็จในวิชาชีพสถาปนิกอย่างแน่นอน

sven mieke fteR0e2BzKo unsplash - Time Machine Studio

การตั้งค่าคุ้กกี้

เราใช้คุ้กกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์อย่างดีที่สุดให้กับคุณ รวมถึงคุ้กกี้จำเป็นสำหรับดำเนินงานของเว็บไซต์ และเพื่อจัดการวัตถุประสงค์ทางการค้า รวมถึงคุ้กกี้อื่นๆ ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติโดยไม่ระบุตัวตน สำหรับการตั้งค่าเว็บไซต์ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้นหรือสำหรับการแสดงเนื้อหาส่วนบุคคล คุณมีอิสระในการตัดสินใจเลือกหมวดหมู่ที่คุณต้องการ โปรดทราบว่าฟังก์ชั่นของเว็บไซต์บางส่วนอาจทำงานไม่เต็มรูปแบบซึ่งขึ้นอยู่กับการตั้งค่าคุ้กกี้ของคุณ คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

  • จำเป็น

    คุ้กกี้เหล่านี้มีความจำเป็นต่อการใช้งานฟังก์ชั่นหลักของเว็บไซต์นี้ เช่น ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย คุ้กกี้เหล่านี้เราสามารถตรวจสอบได้ หากคุณต้องการที่จะอยู่ในระบบเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงบริการของเราได้อย่างรวดเร็วหลังจากเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราแล้ว

  • สถิติ

    เพื่อการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เราจึงมีการติดตามข้อมูลอย่างไม่ระบุตัวตนเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล คุ้กกี้เหล่านี้ทำให้เราสามารถติดตามจำนวนการเข้าชมที่ส่งผลกระทบต่อหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ