รีวิวข้อสอบ CU-TAD รอบตุลาคม ปี64 – ตอนที่ 1

การสอบ CU-TAD ครั้งนี้มีอะไรที่น่าสนใจ

การสอบ CUTAD รอบนี้ถือเป็นการสอบความถนัดทางสถาปัตย์รอบที่เรียกได้ว่าเกิดการรอคอยมาอย่างยาวนานจากใครหลายๆคน เป็นการทิ้งช่วงสอบ CUTAD ที่นานมากเท่าที่เคยมีมา หลายเดือนที่รอคอยฝึกฝนทำให้น้องๆหลายคนมีความกังวลในเรื่องของการเตรียมตัวสอบกันไม่น้อย แต่การสอบในครั้งนี้ก็ได้แสดงให้เห็นถึงหลายๆจุดเปลี่ยนให้เห็นอย่างน่าสนใจซึ่งทางพี่ๆจาก time machine studio มองว่าน้องๆหลายคนน่าจะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไปไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว
หากให้วิเคราะห์ภาพรวมของการสอบในรอบนี้ ทางพี่ๆอยากขอนิยามข้อสอบชุดนี้ว่าเป็นชุดที่มีการปรับให้ข้อสอบส่วนของ part1 และ isometric ใน part 2 และ 3 ให้มีความง่ายขึ้นเเต่มี part สองส่วนของ logo และ product design ที่ยากขึ้นเล็กน้อยนั่นเอง ดังนั้นเชื่อว่าน้องๆหลายคนที่ไม่ถนัดในเรื่องของ isometric ที่ซับซ้อนจะต้องรู้สึกว่าทำข้อสอบส่วนนี้ได้มั่นใจมากขึ้นอย่างแน่นอน

รีวิวการสอบ part ที่ 1

 ก่อนอื่นขอเริ่มจากการชี้แจกเนื้อหาทั้งหมดของข้อสอบ part1 ในครั้งนี้ก่อนว่ามีภาพรวมเป็นอย่างไรบ้าง โดยข้อสอบทั้ง 20 ข้อจะประกอบด้วยเนื้อหาต่างๆดังนี้

– การหาชิ้นส่วนของภาพที่หายไป x 2
– การต่อชิ้นส่วนของภาพ x 1
– การหารูปทรงที่ไม่เข้าพวก x 2
– พับกระดาษเจาะรู x 2
– การคำนวนสมดุลกล และ คานกระดก x 2
– มิติสัมพันธ์ x 4
– นับกล่อง x 2
– นับสีเหลี่ยมที่มีจุดผ่าน x 1
– นับสามเหลี่ยมใน pattern รวม x 1
– การหาภาพ isometric ที่ตรงกับภาพด้านต่างๆที่กำหนด x 3 ( เนื้อหาใหม่ )

 จากรายการเนื้อหาของข้อสอบทั้งหมดจะพบจุดที่หน้าสนใจตรงที่ ข้อสอบปีนี้มีการเพิ่มเนื้อหาใหม่ในเรื่องของ isometric เข้ามาเพิ่มเติมมากถึง 3 ข้อ ซึ่งเป็นการตรวจเช็ครูปทรงสามมิติ 4 ชิ้นกับภาพ top front side ที่โจทย์ให้มาทำให้เห็นแนวทางของการออกข้อสอบที่มุ่งเน้นไปในเรื่องความเข้าใจทางด้าน 3 มิติที่มากขึ้นนั่นเอง ข้อดีอย่างหนึ่งของการสอบแบบนี้คือ หากเรามีการฝึกฝนการทำโจทย์ isometric ที่มากพอจะสามารถทำได้อย่างง่ายดาย แต่ทั้งนี้ข้อสองทั้ง 3 ข้อนี้ก็แฝงด้วยการวัดเรื่องความใส่ใจในรายละเอียดและความรอบคอบของน้องๆเช่นเดียวกัน มีบางข้อที่โจทย์มีการหลอกของเส้นประ หรือ ด้านบางด้านที่หลบอยู่หากใครไม่ได้สังเกตุทุกเส้นอย่างละเอียด อาจเผลอไปตอบตัวเลือกลวงได้เช่นกัน

รีวิวการสอบ part ที่ 2

ข้อที่ 1 Logo Design : 49 TV Channel
    สำหรับโจทย์ข้อนี้หากเราแบ่งระดับความยากของโจทย์การออกแบบ logo จากข้อสอบ CUTAD เก่าๆที่ผ่านมาเป็น 3 ระดับคือ ง่าย ปานกลาง และยาก พี่ๆอยากขอจัดระดับอยู่ที่ ยาก เลยก็ว่าได้ เนื่องจากตัวโจทย์เป็นสถานที่ซึ่งตีความออกมาเป็นภาพได้ยากนั่นเองโดยมีความคล้ายกับโจทย์ประเภท animation studio หรือ architect studio ซึ่งมักหากายภาพมาแทนความหมายได้ยากนั่นเอง
    โดยปกติเเล้วหากน้องๆเจอโจทย์ลักษณะนี้ อยากแนะนำให้พยายามหาของที่ไม่ได้ต้องตีความหลายขั้น มีความเข้าใจง่าย และ มีรูปทรงที่ชัดเจนไม่คลุมเคลือ ออกมาเพียงไม่กี่อย่างแต่นำมาออกแบบร่วมกับตัวอักษรที่โจทย์กำหนดให้หลากหลายแทน เพื่อลดเวลาการคิดและเพิ่มเวลาการวาดผลงานให้สวยงามหลากหลายแทนนั่นเอง
    จากตัวอย่างพี่ๆได้เลือกใช้รูปทรงของ โทรทัศน์ , เสาส่งสัญญาน , โลก และ ปุ่มกด play สื่อความหมายแทน TV channel และหาวิธีสอดแทรกตัวเลข 49 ลงไปในทุกๆแบบนั่นเอง

Scanned Documents2 - Time Machine Studio

ข้อที่ 2 Product Design : Halloween Mask
    ภาพตัวอย่างในการนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบในข้อสอบชุดนี้คือภาพผีเสื้อที่มีลายวงกลมอยู่ที่ปีกนั่นเอง แต่ความยากของข้อสอบข้อนี้สำหรับพี่ๆมองว่าเป็นเรื่องของชนิดผลิตภัณฑ์ที่โจทย์กำหนดซึ่งก็คือ หน้ากากแฟนซี ซึ่งมีความยืดหยุ่นและหลากหลายของรูปแบบเป็นอย่างมาก จึงทำให้ไม่มีรูปทรงที่ตายตัวหรือภาพจำที่ชัดเจนเหมือนข้อสอบกลุ่มที่ง่ายอย่าง tea set , lunch box หรือ blender ปีนี้ข้อสอบให้ทำในรูปแบบช่องแนวนอนจำนวน 2 ช่อง ดังนั้นจึงถือเป็นโจทย์ที่ยากเพราะนอกจากต้องใช้จินตนาการในการออกแบบรูปทรงของหน้ากากที่เปิดกว้างเเล้วนั้น ยังต้องนำเสนอออกมาเป็น 2 ภาพใหญ่ที่จะเห็นรายละเอียดต่างๆชัดเจนอีกด้วย
    จากภาพด้านล่างพี่ๆ ใช้วิธีนำรูปทรงโค้งของปีผีเสื้อมาพับเป็นหน้ากากที่มีความโค้งในสองแนวทางเพื่อเพิ่มความเป็น 3 มิติให้กับผลงานในการช่วยให้การลงสี เกิดแสงเงาได้ง่าย จากนั้นนำลายจุดของภาพผีเสื้อต้นแบบมาช่วยสร้างความน่ากลัวให้กับหน้ากากคล้ายกับลวดลายของหัวตะปู ลายวงแหวนใหญ่ของปีผีเสื้อถูกปรับมาเป็นส่วนของตา และ ลวดลายบางส่วนที่แตกต่างกันช่วยสร้างความแตกต่างให้กับแบบทั้งสอง

Time Machine Bangkok สถาบันสอนการออกแบบสถาปัตยกรรม

ข้อที่ 3 การเขียน isometric ขนาดเล็กจำนวน 10 ข้อ
   ปีนี้ข้อสอบถือว่าลดระดับความซับซ้อนของโจทย์ isometric ทั้ง 10 ข้อลงอย่างชัดเจน ข้อสอบทั้ง 9 ข้อเป็นเพียงภาพสามมิติที่ประกอบจากระนาบตั้งฉากแทบทั้งสิ้น มีเพียงข้อสุดท้ายที่เป็น two-face isometric หรือภาพสามมิติที่มีระนาบเอียงนั่นเอง ทำให้ข้อสอบส่วนนี้ในชุดนี้ถือว่ามีความง่ายเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นส่วนที่หลายๆคนควรคว้าโอกาศเก็บ 20 คะเเนนมาไว้ในมือ
   แต่ในความเรียบง่ายของข้อสอบส่วนนี้ก็ต้องมาพร้อมกับความจุกจิกที่หากใครหลายๆคนไม่ละเอียดพอก็คงจะเสีย 2 คะเเนนไปอย่างน่าเสียดาย เส้นประในโจทย์ชุดนี้นั้นมีการวางหลอกเรื่องของการเจาะรู การซ่อนระนาบด้านหลังต่างๆไว้อยู่มาก หลายๆข้อจงใจทำให้หน้าตาคล้ายกับข้อก่อนหน้า หากใครที่ทำเพลินอาจจะเผลอตัวทำผิดไปก็เป็นได้ดังนั้นการเช็คตำแหน่งของเส้นประเพื่อให้ทราบถึงระนาบที่ซ่อนและถูกบังอยู่จึงสำคัญเป็นอย่างมาก

การตั้งค่าคุ้กกี้

เราใช้คุ้กกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์อย่างดีที่สุดให้กับคุณ รวมถึงคุ้กกี้จำเป็นสำหรับดำเนินงานของเว็บไซต์ และเพื่อจัดการวัตถุประสงค์ทางการค้า รวมถึงคุ้กกี้อื่นๆ ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติโดยไม่ระบุตัวตน สำหรับการตั้งค่าเว็บไซต์ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้นหรือสำหรับการแสดงเนื้อหาส่วนบุคคล คุณมีอิสระในการตัดสินใจเลือกหมวดหมู่ที่คุณต้องการ โปรดทราบว่าฟังก์ชั่นของเว็บไซต์บางส่วนอาจทำงานไม่เต็มรูปแบบซึ่งขึ้นอยู่กับการตั้งค่าคุ้กกี้ของคุณ คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

  • จำเป็น

    คุ้กกี้เหล่านี้มีความจำเป็นต่อการใช้งานฟังก์ชั่นหลักของเว็บไซต์นี้ เช่น ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย คุ้กกี้เหล่านี้เราสามารถตรวจสอบได้ หากคุณต้องการที่จะอยู่ในระบบเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงบริการของเราได้อย่างรวดเร็วหลังจากเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราแล้ว

  • สถิติ

    เพื่อการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เราจึงมีการติดตามข้อมูลอย่างไม่ระบุตัวตนเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล คุ้กกี้เหล่านี้ทำให้เราสามารถติดตามจำนวนการเข้าชมที่ส่งผลกระทบต่อหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ