งานออกแบบสำหรับใส่ PORTFOLIO สถาปัตย์ / การออกแบบ ที่ดีควรเป็นอย่างไร!

เมื่อเริ่มทำ PORTFOLIO สถาปัตย์ และ การออกแบบ เราเชื่อว่าน้องๆจะเลือกงานที่เคยทำ. เช่น การวาด งานลงสี งานประกอบโมเดล มาใส่ใน PORTFOLIO ซึ่งสำหรับเรามองว่าเป็นวิธีที่ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งเราจะใช้โอกาสนี้อธิบายเหตุผลว่าทำไมถึงไม่ดี

อย่างที่คณะออกแบบหลายที่แจ้งว่า คณะต้องการ  PORTFOLIO งานศิลปะการออกแบบจากเรา ซึ่งเราต้องนำคำว่า ศิลปะ และคำว่า การออกแบบ มาตีความเพื่อทำให้เราสามารถตอบโจทย์ได้ตรงกับที่คณะต้องการ 

IMG 4242 3 - Time Machine Studio
IMG 4242 3 - Time Machine Studio
IMG 4617 - Time Machine Studio
IMG 4617 - Time Machine Studio

ศิลปะ คืออะไร

เราอธิบายง่ายๆว่า ถ้าให้น้องๆเลือกศิลปินไทยหนึ่งคน น้องๆอาจจะตอบว่าไม่รู้ หรือ ตอบคนที่เรารู้จัดในการวาดภาพเท่านั้น แต่ถ้าบอกว่า แสตมป์ หรือ เบิร์ด ธงชัย น้องๆคงอ๋อทันที และเราไม่เรียกคนกลุ่มนี้ว่านักดนตรี แต่เรียกว่า ศิลปิน ฉะนั้น ศิลปะไม่เคยถูกกำหนดว่าเราต้องวาดหรือระบายสี ฉะนั้นในทางกลับกัน วาดรูประบายสีก็ไม่ได้เป็นศิลปะเสมอไป

ศิลปะจะแสดงออกมาในรูปแบบของผลงานอะไรก็ได้ แต่เนื้อหาสำคัญคือมันจะต้องแสดงตัวตนของน้องๆ ว่าเราเป็นใคร มีความคิด ความเห็นอย่างไร ฉะนั้น เราต้องแสดงตัวตนให้ได้มากที่สุด

การออกแบบ คืออะไร ?

ส่วนการออกแบบ อธิบายอย่างง่าย มันคือการตอบโจทย์การแก้ปัญหาบางอย่าง ฉะนั้น การทำงานคือเราได้ตั้งคำถามกับบางอย่างที่เราสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ และแก้อย่างตรงจุด ซึ่งก็คือการหาปัญหามาแก้ไขนั่นเอง

กระบวนการทำพอร์ตฟอลิโอการออกแบบ และ ศิลปะที่ดีควรเป็นอย่างไร

การทำผลงาน portfolio สถาปัตย์ / ออกแบบ ที่ดี ควรมีทำจากกระบวนการการออกแบบและศิลปะที่ถูกต้องเพื่อให้ผลงานมีการลงลึกให้มากที่สุด และนำจุดสำคัญออกมาเพื่อแก้ปัญหาหรือแสดงความเห็นให้ตรงจุด ซึ่งมีกระบวนการดังนี้

1. ASSUMPTION – สมมติฐานที่เกิดจากการตั้งคำถามกับตัวเองหรือสิ่งรอบตัว เพื่อนำมาคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาหรือแสดงความคิดเห็น
2. RESEARCH – ข้อมูลที่นำมาศึกษาเพื่อเข้าใจกับสิ่งที่ตัวเองตั้งเป็นสมมติฐานมากขึ้น หาสิ่งที่เด่นหรือเป็นจุดสำคัญให้เจอเพื่อให้สิ่งเรื่องที่ตั้งไว้ได้อย่างชัดเจน
2. CONCEPT สิ่งที่ต้องการทำที่ได้ไตร่ตรองมาจาก RESEARCH4. FINAL WORK – ทางเลือกทางหนึ่งของผลลัพธ์จากการตั้ง CONCEPT ขึ้นมาผลงานสุดท้ายที่ได้ทำ เพื่อแสดงความเห็น หรือ การแก้ปัญหาตาม CONCEPT ที่เลือก และอ้างอิงข้อมูลตาม RESEARCH

เมื่อทำให้ พอร์ตสถาปัตย์ หรือ การออกแบบของเรามีกระบวนการคิดเป็นขั้นตอน ผู้ตรวจ พอร์ตฟอลิโอ จะเข้าใจงานเราได้ง่ายมากขึ้น และเข้าใจสิ่งที่เราต้องการสื่อ และผลสุดท้ายคือผู้ตรวจจะสามารถประเมิณเป็นคะแนนได้นั่นเอง 

IMG 3197 - Time Machine Studio
IMG 3197 - Time Machine Studio
Screen Shot 2564 09 03 at 17.07.33 - Time Machine Studio
Screen Shot 2564 09 03 at 17.07.33 - Time Machine Studio

ตัวอย่างงานผลงาน พอร์ตฟอลิโอการออกแบบ

ASSUMPTION – 
ทำอย่างไรคนที่จะทิ้งขยะได้ถูกต้องตามประเภทของขยะ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป ขยะย่อยสลาย และขยะอันตราย

RESEARCH – 
1. ปัจจุบันมีการจำแนกด้วยสี แต่ตัวสีเองกลับทำให้สับสน เช่น สีเขียวที่ไม่ได้หมายถึงรีไซเคิลแต่หมายถึงขยะย่อยสลาย ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากการสื่อสารที่ยังเข้าไม่ถึงคนไทย
2. ศึกษาต่อว่าแล้วโครงการ แคมเปญไหนได้ผลต่อคนไทยในอดีต และได้ค้นพบว่าตาวิเศษคือแคมเปญที่ประสบความสำเร็จ
3. ตาวิเศษ เป็นโฆษณายุคแรกที่ใช้การ์ตูนในการสื่อสารและกระจายการสื่อสารลงในโทรทัศน์เป็นหลัก ซึ่งคนในยุคนั้นรับสารจากโทรทัศน์เป็นหลัก และการใช้การ์ตูนนั้นทำเพื่อตอบโจทย์กลุ่มเด็ก โดยวางแผนไว้ว่าการสื่อสารจะสื่อที่เยาวชนให้ทิ้งขยะจนคุ้นเคย และเมื่อคุ้นเคย ผู้ใหญ่จะทำตาม
4. การสื่อสารได้ผลเพราะเลือกพื้นที่สื่อสารได้ดี และตอบโจทย์กับเด็กเนื่องจากสมัยนั้นการดูการ์ตูนเป็นเรื่องที่เกิดได้ยาก เด็กจึงสนใจโฆษณาเป็นพิเศษและทำตามตัวละครอย่างดี
5. หากต้องการให้คนเข้าถึงได้ดีที่สุดจะมีปัจจัยหลัก 2 ข้อ พื้นที่ในการสื่อสารที่เหมาะสม และ การเลือกประเภทของผู้รับสารที่เหมาะสม

CONCEPT –
ต้องการออกแบบการสื่อสารการทิ้งขยะแบบจำแนกในรูปแบบใหม่เพื่อเข้าถึงคนที่สนใจสิ่งแวดล้อม เข้าถึงมากขึ้น โดยเลือกคนรุ่นใหม่ โดยเข้าถึงได้ด้วย Social Media ที่เป็นพื้นที่สื่อที่ดีที่สุดในปัจจุบัน

FINAL WORK –
     – ทำ Character Design 4 ตัวที่ตอบโจทย์ตามการจำแนก โดยแต่ละตัวละครได้แรงบันดาลใจจากของที่ควรทิ้งในถังนั้นๆ
    – ออกแบบ Exhibition ให้กับตัวละคนนี้โดยใช้ ART ในการสื่อเรื่องราว เพื่อให้คนรุ่นใหม่เข้าชมและให้ความสนใจและเกิดการถ่ายลง Social Media
     – Character Design 4 ตัวนี้จะเป็นสัญลักษณ์แทนสีถังขยะ เพื่อลงต้นทุนการผลิตถึงใหม่ โดยการใช้สติกเกอร์ตัวละคนไปแปะแทน

จากตัวอย่างงานข้างบน เชื่อว่าน้องๆน่าจะเห็นแล้วใช่ไหมครับ ว่า พอร์ตฟอลิโอการออกแบบที่มีการทำ RESEARCH ชัดเจน สำคัญแค่ไหน เพราะถ้าหากงานด้านบนนั้นเริ่มทำงานเลยโดยไม่ได้ทำ RESEARCH จะไม่มีทางตอบโจทย์ได้ตรงประเด็นเลย หากงานด้านบนไม่ได้ดูงานตาวิเศษ เค้าก็จะไม่สามารถพลิกแพลงการออกแบบให้เวิคได้ และถ้าลอกตามอย่างไม่วิเคราะห์ก็จะเป็นงานการ์ตูนในโทรทัศน์แบบเดิมที่ไม่มีทางตอบโจทย์กับปัจจุบัน นี่แหละความสนุกของโรงเรียนศิลปะ และการออกแบบนะครับ เราจะได้ทำผลงานที่ตอบโจทย์จริงๆ และเมื่อทำสำเร็จ ลึกๆเราจะภูมิใจกับงานที่ตั้งใจทำที่รู้ว่าไม่ได้ทำลวกๆ และไม่แน่ งานอาจจะดีมากพอในการยื่นประกวดด้วยครับ

Screen Shot 2564 09 03 at 17.07.43 - Time Machine Studio
Screen Shot 2564 09 03 at 17.07.43 - Time Machine Studio

การตั้งค่าคุ้กกี้

เราใช้คุ้กกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์อย่างดีที่สุดให้กับคุณ รวมถึงคุ้กกี้จำเป็นสำหรับดำเนินงานของเว็บไซต์ และเพื่อจัดการวัตถุประสงค์ทางการค้า รวมถึงคุ้กกี้อื่นๆ ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติโดยไม่ระบุตัวตน สำหรับการตั้งค่าเว็บไซต์ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้นหรือสำหรับการแสดงเนื้อหาส่วนบุคคล คุณมีอิสระในการตัดสินใจเลือกหมวดหมู่ที่คุณต้องการ โปรดทราบว่าฟังก์ชั่นของเว็บไซต์บางส่วนอาจทำงานไม่เต็มรูปแบบซึ่งขึ้นอยู่กับการตั้งค่าคุ้กกี้ของคุณ คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

  • จำเป็น

    คุ้กกี้เหล่านี้มีความจำเป็นต่อการใช้งานฟังก์ชั่นหลักของเว็บไซต์นี้ เช่น ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย คุ้กกี้เหล่านี้เราสามารถตรวจสอบได้ หากคุณต้องการที่จะอยู่ในระบบเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงบริการของเราได้อย่างรวดเร็วหลังจากเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราแล้ว

  • สถิติ

    เพื่อการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เราจึงมีการติดตามข้อมูลอย่างไม่ระบุตัวตนเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล คุ้กกี้เหล่านี้ทำให้เราสามารถติดตามจำนวนการเข้าชมที่ส่งผลกระทบต่อหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ