เพิ่งจบลงไปหมาดๆกับการประกาศผลของผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี 65 โดยก่อนอื่นพี่ๆจาก time machine studio ต้องขอเเสดงความยินดีกับน้องๆทีมสถาปัตยกรรมของ time machine studio ทั้ง 7 คนที่ฟันฝ่าการทดสอบรอบต่างๆจนเป็น 7 ใน 65 คนตัวจริง จากผู้ผ่านการทดสอบรอบเเรกถึง 142 คน ความดุเดือดเข้มข้นของปีนี้เป็นอย่างไรในบทความนี้พี่ๆจาก time machine studio จะมาวิเคราะห์เเละรีวิวให้เผื่อเป็นประโยชน์ต่อน้องๆหลายๆคนที่อาจจะไม่เคยทราบข้อมูลส่วนนี้มาก่อนเเละสนใจอยากสอบเข้าสถาปัตย์ ศิลปากรกัน
การทดสอบรอบนี้ปกติเเล้วเป็นอย่างไร
ในปีนี้ก็เป็นเหมือนทุกปี ที่เมื่อน้องๆม.6 ที่มีผลงานใน portfolio ที่เข้าตากรรมการทั้งหลายจะถูกคัดเลือกให้ผ่านเข้ารอบเเรกในการไปทำแบบทดสอบข้อเขียน และ การสอบสัมภาษณ์ กับอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ในปีนี้มีผู้ผ่านเข้ารอบเเรกนี้ถึง 142 คนซึ่งถือว่ามากกว่าปีก่อนๆถึง 20 กว่าคนเลยทีเดียว ในรอบนี้จะมีผู้ผ่านเข้ารอบประมาณ 1 ใน 3 เท่านั้นคือประมาณ 55 คน ทำให้เป็นตัวบ่งชี้ว่าการที่น้องๆมี portfolio ที่ดีเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่ได้เพียงพอในการจะสอบติดมหาวิทยาลัยได้นั่นเอง ในการคัดเลือกของผู้ผ่านการสอบเข้ามารอบเเรกนี้ ถือเป็นการวัดความสามารถของน้องๆอย่างเเท้จริง ดังนั้น น้องๆที่เตรียมตัวในการสอบเข้ารอบ portfolio TCAS1 ควรหมั่นฝึกฝนเรื่องของฝีมือการวาดรูปจบงานเเละการใช้ความคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอด้วยเช่นกันถือเป็นอีกหนึ่งบททดสอบที่วัดศักยภาพรายบุคคลอย่างเเท้จริง
ความน่าสนใจของโจทย์ปีนี้
โจทย์ในปีนี้เเตกต่างจากปีอื่นอยู่พอสมควร เนื่องจากในปีก่อนหน้าที่ผ่านมา ในรอบการสอบ TCAS1 ของสถาปัตย์ศิลปากรนั้น เน้นไปในการให้โจทย์ลักษณะที่มีการให้ออกเเบบกายภาพที่มีเนื้อหาชัดเจนตัวอย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์ เเละ อาคารหรือซุ้มขนาดเล็ก ที่สามารถปรับเปลี่ยนกายภาพไปหลากหลายการใช้งานเเละมีความสัมพันธ์กับบริบทที่ตั้งต่างๆโดยรอบตามที่โจทย์กำหนด ต่างจากในปีนี้ซึ่งเป็นการให้ตีความระบบของโครงสร้างเเละลวดลายทางธรรมชาติ และนำมาวิเคราะห์ตีความและเเสดงออกมาด้วยผลงานออกแบบนั่นเอง โดย โจทย์ที่กำหนดในปีนี้ประกอบด้วยลวดลายธรรมชาติ 3 ลาย ได้เเก่ 1.ลายเกสรดอกทานตะวัน 2.ใบเฟิร์น และ 3.ลายจุดของสุนัขดัลเมเชียล ซึ่งน้องๆจะต้องวิเคราะห์ลงลึกไปในเเต่ละระบบของลวดลายเเละนำมาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์
ปัญหาที่พบเจอจากน้องๆในปีนี้
โดยปัญหาในรอบนี้ที่พบเจอคือน้องๆหลายคนตีความออกมาไม่ลึกเพียงพอ ประกอบกับการไม่กล้าที่จะออกจากกรอบตามที่ตนเองเคยติวมา ทำให้ผลงานเเทบทั้งหมดเป็นการเเปลลวดลายออกมาเป็นวัตถุหรือสถาปัตยกรรมเเทบทั้งสิ้น โดยที่หากอ่านจากโจทย์เเล้วไม่มีความจำเป็นเเต่อย่างใด แต่ก็ไม่ได้แปลว่าการจบงานออกมาเป็นกายภาพดังกล่าวจะไม่ถูกต้อง หากน้องๆตีความระบบของลวดลายได้ดีเเละนำมาสื่อสารผ่านที่ว่าง กายภาพได้อย่างตรงจุดเเล้วหล่ะก็ งานชิ้นนั้นก็จัดเป็นผลงานที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ความจริงเเล้วการจะจบงานไม่ว่าจะเเบบไหนสามารถทำออกมาได้ดีหมดทั้งสิ้นไม่จำเป็นต้องเเตกต่าง ไม่จำเป็นต้องไม่เหมือนใคร เเต่ต้องมีคุณภาพเเละเเสดงถึงมาตรฐานเดียวกันกับผลงานของน้องๆใน portfolio นั่นเอง หากน้องๆตั้งใจฝึกฝนอยู่เสมอเเละทำผลงานต่างๆใน portfolio ด้วยตนเองมาตลอดย่อมผ่านการสอบรอบนี้ไปได้อย่างสบายเเทบทุกคน
ข้อคิดที่อยากฝากถึงน้องๆรุ่นถัดไป
ในการเตรียมตัวรอบ TCAS1 ของน้องๆรุ่นต่อไปการฝึกทั้งเรื่องของความคิดในการออกเเบบเเละฝีมือการนำเสนองานเป็นสิ่งที่ต้องฝึกควบคู่กันไปทั้งคู่อย่างขาดไม่ได้ เราได้เห็นจากปีนี้ว่ามีน้องๆหลายคนที่มีการฝึกฝนมาอย่างไม่เต็มร้อยทั้งสองทาง บางคนเก่งออกเเบบมาก เเต่นำเสนอออกมาได้ไม่น่าสนใจ หรือบางคนวาดออกมาได้ดีมากเเต่ก็ขาดในเรื่องของความลึกเเละสมเหตุสมผลของไอเดีย ดังนั้น หากน้องๆตั้งใจเเละหมั่นให้ความสำคัญกับทั้งสองเรื่องนี้การสอบรอบนี้ก็จะไม่น่ากังวลเเต่อย่างใด นอกเหนือจากเรื่องความสามารถของน้องๆเรื่องของทัศนคติในการทำงานออกแบบก็สำคัญ จากประสบการณ์ที่เคยผ่านการเรียนสถาปัตย์มาจนทำงานจริง มีหลายคนที่ยังคงติดที่จะทำตามคนส่วนใหญ่อยู่เสมอ โดยที่ไม่รู้ว่าการที่สิ่งที่คนส่วนมากทำนี้นจริงๆถูกหรือไม่ ในการทำงานออกเเบบจริงๆอยากให้น้องๆเข้าใจว่าไม่ใช่โจทย์ที่มีคำตอบเพียงทางใดทางหนึ่ง แต่เป็นโจทย์ที่มีคำตอบที่ถูกมากหมายหลายทางซึ่งสิ่งนี้คือความสนุกของสังคมการเรียนออกเเบบ จึงอยากฝากให้น้องๆทักคนเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองสนใจเเละอยากทำมากกว่าการที่เห็นเพื่อนๆส่วนมากทำไปเเบบไหน หรือพี่ติวบอกให้ทำเเบบไหน ต้องมั่นใจในความคิดของตนบ้าง แต่ก็รับนำคำเเนะนำของผู้อื่นมาวิเคราะห์ประกอบพัฒนาผลงานของตน หากน้องๆทุกคนฝึกตรงนี้ สังคมการเข้าไปเรียนในคณะจะเป็นบรรยากาศที่สนุกมากๆ