หลายคนจะมองว่าการติวสถาปัตย์และการออกแบบนั้นเป็นการติวสำหรับวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งเราเห็นด้วยเช่นเดียวกัน แต่เมื่อเรามองถึงโลกในปัจจุบัน การออกแบบนั้นกลายเป็นความสามารถหนึ่งที่จำเป็นเนื่องจาก ในปัจจุบันธุรกิจในหลายๆภาคส่วนใช้ความสามารถในการออกแบบมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่าคนในตอนนี้มีการรับรู้ถึงแบรนด์และประสบการณ์ที่ได้รับในการซื้อมากกว่า และมากเกินกว่าที่จะรับรู้ถึงคุณภาพและความจำเป็นในการซื้อสินค้าเสียด้วยซ้ำ ซึ่งสิ่งนี้เองจะเห็นได้ว่า อาชีพที่เกิดขึ้นใหม่เรื่อยๆนั้นเกี่ยงข้องกับการออกแบบมากขึ้น และการออกแบบนั้นไม่ได้มาจากการวาดรูปเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการออกแบบธุรกิจ การออกแบบประสบการณ์ของการซื้อขายและบริการ เช่น อาหาร แอปพลิเคชัน สื่อโฆษณา และอื่นๆอีกมากมาย เราจึงอยากจะเขียนบทความนี้เพื่อเปิดโลกให้น้องๆที่มีความสนใจทั้งในเรื่องของวิชาชีพสถาปัตยกรรม หรือแม้แต่ผู้ที่สนใจและเริ่มสนใจในการออกแบบด้วย เรามาดูกันว่การนำไปประกอบอาชีพในอนาคตจากการติวสถาปัตย์แบบของเราจะนำไปใช้กับอะไรได้บ้างนะ
เราขอเริ่มจากการเล่าเนื้อหาของสิ่งที่เราสอนก่อน เริ่มต้นด้วยแนวความคิดของเราที่เราต้องการให้ผู้เรียนเป็นนักออกแบบจริงๆ ไม่ใช่แค่ผู้ที่เป็นคนประกอบวิชาชีพด้านสถาปัตยกรรมเท่านั้น เราได้วาง course outline ที่มีแกนหลักเป็นสองเรื่องดังนี้
1. ความรู้เบื้องต้นทางสถาปัตยกรรม
2. ความรู้เรื่องของระบบการออกแบบ
ในเรื่องของความรู้ด้านสถาปัตยกรรม เราได้สร้างระบบการติวสถาปัตย์ด้วยความเข้าใจสถาปัตยกรรมที่ง่ายที่สุดที่น้องๆสามารถทำความเข้าถึงได้และสามารถนำไปต่อยอดได้ ตัวอย่างของเราต่อยอดในการเรียนจากคณะสถาปัตย์โดยการมองเป็นเรื่องง่ายจากการประกอบของ 4 อย่าง ซึ่งนั้นคือ โครงสร้าง เปลือกผิวนอกอาคาร การใช้งาน และทางสัญจร เมื่อเราเข้าใจถึงรูปแบบต่างๆ และการนำ 4 ส่วนมาประกอบกันเราจะเห็นได้ว่า สถาปัตยกรรมไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจยาก และเราสามารถตอบโจทย์ให้แม่นยำได้ แต่การตอบโจทยที่แม่นยำ เราจะต้องเรียนอีก 1 หัวข้อใหญ่คือเรื่องที่ 2 นั่นคือความรู้ในการออกแบบ
การออกแบบจริงๆแล้วเป็นสิ่งพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนต้องเรียนรู้ การออกแบบเกิดจากการที่เราพบกับปัญหาบางอย่างที่ต้องการแก้ไข นี่คือพื้นฐานที่ในปัจจุบัน การจ้างงานหรือการสร้างธุรกิจต้องการ หากใครที่ยังไม่เห็นภาพ เราสามารถคิดภามการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่เราเรียนมาก็ได้ครับ สมมติฐานคือไอเดียที่เราสงสัยและต้องการหาคำตอบ เมื่อเราได้สมมติฐาน สิ่งต่อไปคือการทำรีเสิช หรือการหาข้อมูลนั่นเอง
เมื่อได้ข้อมูลพร้อมกับการไตร่ตรอง จากไอเดียที่มาในหัวเร็วๆ จะเปลี่ยนเป็นคอนเสป นั่นเอง หลังจากนั้นการออกแบบจะเริ่มต้นขึ้น ให้เราคิดภาพถึงการทำการทดลองวิทยาศาสตร์ที่พร้อมจะนำวิจับที่ได้มาเปลี่ยนเป็นการตอบโจทย์ของมนุษย์ ซึ่งเราเรียกว่า technology นั่นเองฉะนั้นการที่เราจะได้สิ่งที่ตอบโจทย์ใหม่ออกมา เราต้องการการวิเคราะห์ความต้องการและจำเป็นของมนุษย์ และการมี critical thinking หรือการวิเคราะห์นั่นเองว่า รีเสิชหรือการวิจัยที่เราหามา สามารถตอบโจทย์เป็นอะไรได้บ้าง สร้างของใหม่ที่สร้างความ impact ได้อย่างไร การออกแบบที่ดีคือการสร้าง impact กับคนและสามารถให้เค้าหันมามองผลงานของเราที่เค้าสามารถนำไปใช้ในชีวิตเพื่อทำให้ชีวิตดีขึ้นได้นั่นเอง
เมื่อเราเห็นภาพนี้แล้ว เราจะเห็นว่าการเมื่อเราติวสถาปัตย์มา เราจะเห็นภาพที่กว้างมากขึ้นเปิดโอกาสให้เราได้หาเส้นทางของตัวเองในการประกอบอาชีพใดๆก็ได้ในอนาคต
เนื้อหาการติวของเรา ความรู้สถาปัตย์ และ แนวคิดเรื่องการออกแบบ
ในการเรียนจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สำหรับเรามันคือการได้หล่อหลอมการฝึกในส่วนของแนวความคิด และ การเข้าใจระบบการสร้างการรับรู้ในเชิง 3 มิติ ฉะนั้น เมื่อเราเข้าใจวิธีการตอบโจทย์การออกแบบแล้ว ความเข้าใจนี้ไม่ต่างจากเนื้อหาส่วนหนึ่งในการสร้างธุรกิจ ทำให้ผู้ที่เรียนจบสามารถสร้างไอเดียในการตอบโจทย์ใหม่ๆได้ ฉะนั้นหลายๆคนที่จบทางด้านสถาปัตย์ได้ริเริ่มสร้างธุรกิจแนวใหม่หรือธุรกิจที่ตอบโจทย์ปัจจุบัน ดังนี้
1. งาน interactive design
2. งาน user interface / use experience
3. งานด้าน stage design
นอกจากนี้หลายคนยังนำวิธีดารออกแบบไปทำธุรกิจส่วนตัวที่เคยมีต่อไป ซึ่งสิ่งที่เราเห็น ความสามารถที่ทำให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่นี้เกิดขึ้นได้ ย่อมมาจากการใช้ระบบการออกแบบที่นำไปต่อยอดในแต่ละความเชี่ยวชาญอื่นๆนั่นเอง และความสามารถนี้เป็นหนึ่งในสกิลที่สำคัญที่สุดในการเอาตัวรอดและสร้างความมั่นคงในอนาคตนั่นเองครับ
เมื่อเราเห็นภาพการติวของเราแล้ว เราจะมาดูว่าการนำไปปรับใช้ของน้องๆของเราเป็นอย่างไรบ้าง
1. การค้นพบตัวเอง
การติวสถาปัตย์ของเราไม่ได้เป็นแค่การทำให้ตรงเป้าหมายในการติวติดเท่านั้น แต่เป็นการเรียนเพื่อค้นพบทางของตนเอง เช่น น้องๆของเราหลายคนเลือกที่จะศึกษามหาวิทยาลัยต่างประเทศเนื่องจากต้องการเลือกสาขาวิชาเฉพาะจริงๆ อย่าง visual arts และน้องๆสามารถเอาวิธีของเราไปปรับใช้เพื่อยื่นที่มหาวิทยาลัยชื่อดังได้จริง
2. การตั้งเป้าหมายว่าต้องการเรียนรู้เรื่องอะไรตั้งแต่ก่อนเริ่มเรียนในคณะ
เรามองว่าการค้นพบว่าเราต้องการเรียนรู้เรื่องอะไรนี้เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะว่าการสร้างความเป็นมืออาชีพในเรื่องเรื่องหนึ่งจะทำให้เราได้รับโอกาสจ้างงาน เช่นในช่วงปี 3-4 หลายคนที่กำลังศึกษา INDA ได้รับงานเรนเดอร์ให้กับแบรนด์ต่างๆ หรือ งานถ่ายภาพ หรืองานออกแบบในรูปแบบของ สถาปัตยกรรม นิทรรศการ ต่างๆ ด้วย