INDA จุฬา กับ COMMDE จุฬา ยื่นทางไหนดี ในเมื่อคะแนนดีพอทั้งสองอัน!!

ในวันนี้เราจะขอพูดของฝั่งหลักสูตรนานาชาติกันบ้าง โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของการเลือกสาขาการออกแบบในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสาขาทั้งหมดจะมี INDA จุฬา และ COMMDE จุฬา เราจะมาคุยกันว่า สองสาขานี้ต่างกันอย่างไร และที่สำคัญที่สุด พอร์ตที่ใช้ยื่นเข้า เหมือนกันแค่ไหน และสามารถใช้ร่วมกันได้ไหม เรามาหาคำตอบกันเลย

คะแนนสอบและผลงานที่ใช้ในการสอบเข้า 

ทั้งสองคณะนี้จะใช้คะแนนการสอบทางคณิตศาสตร์ (SAT,CU-AAT) , คะแนนความถนัดทางภาษาอังกฤษ (SAT, IELTS, CU-AAT, CU-TEP) และต้องยื่นพอร์ตการออกแบบเหมือนกัน โดยจะมี INDA จุฬาใช้คะแนนสอบเพิ่มอีก 1 ข้อสอบ นั่นคือ ความถนัดทางสถาปัตย์ (CU-TAD) นั่นเอง อย่างไรก็ตามคะแนนที่ใช้ในการเข้านั้นไม่เท่ากันในแต่ละข้อสอบซึ่งเราแสดงเป็นตารางดังนี้

INDA COMMDE
คะแนนการสอบทางคณิตศาสตร์
SAT 580 (530) SAT 490
CU-AAT 550 (500) CU-AAT 490
คะแนนความถนัดทางภาษาอังกฤษ
SAT 450 (400) SAT 450
CU-AAT 450 (400) CU-AAT 450
CU-TEP 80 (75) CU-TEP 80
IELTS 6 (5.5) IELTS 6
ความถนัดทางสถาปัตย์
CU-TAD 50 (45) - -
พอร์ตฟอลิโอ
ไม่จำกัดงาน และ ความหนาไม่เกิน 1 นิ้ว ขนาด A4 (เฉพาะปีนี้รวบรวมผลงานใน 20 หน้า ขนาด A4) 12 งาน 12 งาน ขนาด 1920*1080 pixels

หากดูคะแนนแล้วจะพบว่า เกณฑ์ในการรับมีความใกล้เคียงมากทั้งคะแนนภาษาอังกฤษที่เหมือนกันแค่คะแนนเลขที่ต่างกันไม่มาก อย่างไรก็ตามหากเราดูที่เกณฑ์การยื่นพอร์ตฟอลิโอเราจะเห็นว่าจำนวนหน้าและจำนวนงานที่บังคับต่างกัน และขอให้เชื่อว่า ในความต่างกันนี้มีผลมหาศาลกับการทำพอร์ตฟอลิโองานออกแบบของเรา

ความแตกต่างกันของพอร์ตฟอลิโอ INDA จุฬา กับ COMMDE จุฬา 

ถ้าถามว่าสำหรับพี่ พอร์ตฟอลิโอของ INDA จุฬา กับ COMMDE จุฬา พอร์ตฟอลิโอของที่ไหนยากกว่ากัน ขอตอบอย่างมั่นใจว่า COMMDE จุฬานะ และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความยากคือจำนวนงานนั่นเอง การกำหนดจำนวนจะส่งผลให้เราต้องทำงานจำนวนที่มากกว่า และ เพราะ COMMDE จุฬา บังคับจำนวนหน้าด้วย ทำให้ไม่ว่า CONCEPT งานจะดีแค่ไหนก็มีพื้นที่แค่ 1 หน้า ขนาด 1920*1080 (เล็กเท่ากับรูปที่ลง facebook) เท่านั้น ต่างกับ INDA จุฬาที่เรามีถึง 20 หน้า ซึ่งปริมาณขั้นต่ำตามความคิดิเห็นของเราคือ 4 งาน เท่ากับเราจะมีถึง 5 หน้าในการอธิบายซึ่งตรงนี้แหละจะทำให้การทำพอร์ตง่ายขึ้นจริงๆ

พอร์ตฟอลิโอ COMMDE จุฬา 1 งาน 1 หน้า พื้นที่น้อยนิดที่มีค่ามหาศาล 

ถ้าหากอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว อาจจะมีความคิดว่า “ไม่เห็นยากเลย เราก็เน้นปริมาณงานเยอะๆคอนเสปทำให้พอกับหน้ากระดาษ” จริงๆแล้วการคิดแบบนี้ไม่ผิดเลยนะ แต่ปัญหาคือคนอื่นๆอาจไม่คิดแบบเรา จากประสบการณ์ที่ได้เห็นงานและสอนทางด้านนี้ ทุกคนพยายามทำให้แต่ละงานมีคอนเสปที่ชัดเจนและเป็นงานที่ออกแบบอย่างตั้งใจ ทุกคนพยายามหาพื้นที่ในการใส่คอนเสปเข้าไปในหน้าให้พอ และเมื่อเทียบกับพอร์ตฟอลิโอ INDA จุฬาในความตั้งใจเท่ากัน เราจะทำไม่เกิน 4-7 งานในการทำพอร์ท 20 หน้าเท่านั้น เท่ากับว่าจำนวนงานหารครึ่งทันทีครับนั่นเป็นสาเหตุที่เราบอกว่าCOMMDE จุฬายากกว่านั่นเอง

การทดสอบสุดท้ายที่ทั้ง INDA จุฬา กับ COMMDE จุฬา มี

การทดสอบที่นอกเหนือจากคะแนนสอบและพอร์ตฟอลิโอแล้ว เมื่อเราได้รับสิทธิ์เข้าสัมภาษณ์ ก่อนการสัมภาษณ์เราจะต้องสอบ SKILL TEST ก่อนและทั้งสองสาขานี้ทั้ง INDA จุฬา กับ COMMDE จุฬา และส่วนนี้กรสอบก็ไม่เหมือนกันเช่นกันครับ โดย
INDA จุฬาที่ผ่านมาจะเป็นการสอบการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ (ESSAYS) และวาดภาพประกอบความเข้าใจ (DESIGN DRAWING) ตามโจทย์ที่ให้มาซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการออกแบบ ซึ่งทั้งหมดถึงเป็น 10-15% ของการตรวจนะครับ แต่โจทย์ก็ไม่ได้ยากนะ เป็นการให้ยกตัวอย่างหรือนำเสนอไอเดียมากกว่า
COMMDE จุฬาจะเป็นการทดสอบการออกแบบโดยนนำเสนอด้วยการวาด ข้อสอบทั้งหมดสามโจทย์ 3 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาที่จำกัดมาก แถมโจทย์ก็ต้องออกแบบเรื่องที่ไม่ง่ายเลยฉะนั้นเตรียมตัวกันด้วยนะครับ อาจจะต้องซ้อมความเร็วในการวาดด้วยนะ

 

บทสรุป 

หากวันนี้เราจะยื่นทั้งสองคณะการเตรียมตัวควรเป็นดังนี้ เราควรทำพอร์ตให้เป็นแบบ COMMDE จุฬา ไปเลย คือมีให้ครบทั้ง 12 งาน และและเตรียมคะแนนแบบ INDA จุฬา นะครับ มีหลายเคสมากที่คนที่ตั้งใจยื่นสองสาขาแต่เน้นด้าน COMMDE จุฬา จะได้ทั้งสองสาขา และหลายเคสเช่นกันที่ยื่นทั้งสองสาขาและเน้น INDA จุฬาเป็นหลัก และไม่ได้ COMMDE จุฬา ฉะนั้นใครรที่เห็นว่า COMMDE คะแนนน้อย ยื่นไปเผื่อๆ บอกเลยว่าไม่ง่ายอย่างที่คิดนะ ฝากเตรียมตัวกันให้พร้อมนะครับ

การตั้งค่าคุ้กกี้

เราใช้คุ้กกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์อย่างดีที่สุดให้กับคุณ รวมถึงคุ้กกี้จำเป็นสำหรับดำเนินงานของเว็บไซต์ และเพื่อจัดการวัตถุประสงค์ทางการค้า รวมถึงคุ้กกี้อื่นๆ ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติโดยไม่ระบุตัวตน สำหรับการตั้งค่าเว็บไซต์ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้นหรือสำหรับการแสดงเนื้อหาส่วนบุคคล คุณมีอิสระในการตัดสินใจเลือกหมวดหมู่ที่คุณต้องการ โปรดทราบว่าฟังก์ชั่นของเว็บไซต์บางส่วนอาจทำงานไม่เต็มรูปแบบซึ่งขึ้นอยู่กับการตั้งค่าคุ้กกี้ของคุณ คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

  • จำเป็น

    คุ้กกี้เหล่านี้มีความจำเป็นต่อการใช้งานฟังก์ชั่นหลักของเว็บไซต์นี้ เช่น ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย คุ้กกี้เหล่านี้เราสามารถตรวจสอบได้ หากคุณต้องการที่จะอยู่ในระบบเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงบริการของเราได้อย่างรวดเร็วหลังจากเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราแล้ว

  • สถิติ

    เพื่อการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เราจึงมีการติดตามข้อมูลอย่างไม่ระบุตัวตนเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล คุ้กกี้เหล่านี้ทำให้เราสามารถติดตามจำนวนการเข้าชมที่ส่งผลกระทบต่อหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ