เราเชื่อว่าน้องๆส่วนใหญ่ทราบกันอยู่แล้วว่า การใช้พอร์ตฟอลิโอในการยื่น INDA นั้น มีคะแนนรวมอยู่ที่ 5-10% ของการวัดผลทั้งหมด และหากเป็น COMMDE ถึงแม้ไม่ได้แจ้งว่าเทียบเป็นกี่เปอร์เซนต์ เราก็อาจจะคิดว่าคะแนนน่าจะหาร 3 จากการเฉลี่ยคะแนนเลขและอังกฤษเข้าไปร่วมด้วย แต่เชื่อหรือไม่ว่า จริงๆแล้ว พอร์ตฟอลิโอนี่แหละคือตัวชี้วัดเลยว่าอาจารย์จะเลือกคุณในการเข้าคณะหรือไม่
การประเมินข้อมูลในการรับเข้าคณะนั้นๆ
อยากให้น้องๆจินตนาการว่าหากเราเป็นผู้ที่มีอำนาจในการเลือกคนเข้าเรียน เราจะเลือกจากอะไร สำหรับคณะการออกแบบนั้น ไม่ว่าจะมีคะแนน เลข อังกฤษ หรือ วิชาการอื่นๆสูงเท่าไหร่ เราเชื่อว่า มันเป็นปัจจัยรอง เพราะเนื้อหาที่เรียนในช่วง 4-5 ปีนั้น เราเน้นการออกแบบและศิลปะเป็นหลัก! ฉะนั้นสองสิ่งที่จะแสดงความสามารถด้านศิลปะและการออกแบบของผู้ที่ยื่นเข้าคณะลักษณะนี้ จะแสดงอยู่สองส่วนเป็นหลัก
ในส่วนของการสอบความถนัด สิ่งที่จะวัดผลได้จะเป็น พื้นฐานการวาด หรือการแสดงข้อมูลจากสมองออกมาเป็นภาพ และ การจัดการเวลา ซึ่งการวัดผลด้วยการจับเวลานั้นเป็นการจัดชุดระบบความคิดเพื่อตอบโจทย์ที่ถูกสั่งให้ดีที่สุดนั้น อาจเป็นด้านตรงข้ามของการได้ทบทวนและตกผลึกความคิดในการแสดงตัวตนหรือการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาอย่างแยบยล
ฉะนั้น ในส่วนที่ขาดไป จะถูกเติมเต็มในการยื่นพอร์ตฟอลิโอ (portfolio) นั่นเอง ในข้อความเบื้องต้นได้สรุปแล้วว่า การทำพอร์ตฟอลิโอจจะต้องแสดงอะไรบ้าง ซึ่งคือ การแสดงตัวตน และการแสดงตัวอย่างการจัดการการแก้ปัญหาและออกแบบสิ่งที่ได้ผลจากรีเสิชเรานั่นเอง
ความสำคัญของ portfolio!
เมื่อเราคุยจนถึงจุดนี้ เราเชื่อว่าน้องๆจะมีคำถามว่า แล้ว จริงๆแล้วพอร์ตฟอลิโอมีผล หรือ สำคัญแค่ไหนในการยื่น เราเชื่อว่า portfolio คือทุกอย่างในการยื่นเลยครับ เนื่องจากพอร์ตฟอลิโอจะส่งผลถึง สาม ช่วงเวลาในการยื่น
- ข่วงเวลาในการตรวจพอร์ตฟอลิโอ
- ช่วงเวลาในการสัมภาษณ์
- ช่วงเวลาที่อาจารย์หารือในการคัดคนรอบสุดท้าย
การตรวจ portfolio และการให้คะแนน
หากพอร์ตฟอลิโอของเราแสดงตัวตนและการออกแบบที่ดีครบถ้วน การได้คะแนนส่วนนี้ไปย่อมเป็นคะแนนที่ดีและทดแทนคะแนนส่วนอื่นๆได้
การสัมภาษณ์
หาก portfolio ของน้องๆได้สรุปการหาตัวตน และการสรุปข้อมูลที่ได้ค้นหาเพื่อนำมาสร้าง concept การออกแบบ และมีการเสนอผลงานการออกแบบแล้วนั้น การสัมภาษณ์ในห้อง น้องๆจะพูดได้อย่างกระชับ มีประเด็น และ น่าสนใจ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มคะแนน interview อย่างมหาศาล
การหารือรอบสุดท้ายในการคัดเลือก หากมีคนที่ได้คะแนนคู่คี่กัน อาจารย์ย่อมต้องเลือกคนที่โดดเด่นเรื่องการออกแบบและศิลปะมากกว่าเสมอ เพราะนั่นคือเรื่องหลักของการเรียน และผู้ที่มี portfolio ที่ดีย่อมชนะคนที่มีดีด้านอื่นเสมอ
ในการวิเคราะห์ของเรานั้นได้ประสบการณ์มาจากหลายๆปีที่เราได้ติวนักเรียนของเรา โดยหลายคน มีคะแนนด้านวิชาการที่ไม่ได้ดีมากนั้น หรือบางคนอาจมีคะแนนความถนัดที่ต่ำกว่าเกณฑ์ด้วยซ้ำ (CU-TAD 48/100) เนื่องจากใช้เวลา 2 เดือนเท่านั้นในการเตรียมตัว แต่ด้วยพอร์ตฟอลิโอที่โดดเด่นที่แสดงตัวตนอย่างชัดเจน นักเรียนคนนั้นก็ได้รับเลือกเข้าศึกษาที่ INDA จุฬา
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นบทวิเคราะห์ที่มาจากประสบการณ์ของทางโรงเรียนเรา ซึ่งในความเป็นจริง อาจมีปัจจัยอื่นๆที่อาจารย์นำมาเป็นประเด็นของการคัดเลือกอีก ฉะนั้นน้องๆที่ได้อ่าน ลองวิเคราะห์บทความของเราก่อน แต่เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เราเชื่อว่าน้องๆก็คงมีความเห็นไม่ต่างกันกับความสำคัญของพอร์ตฟอลิโอเล็มนี้ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะครับ