“ MANUAL OF SECTION “
หลายๆคนมีปัญหาในการนำเสนอผลงานการออกแบบของตนออกมาให้ชัดเจน โดยเฉพาะในผลงานการออกแบบที่เป็นที่ว่างที่มีความซับซ้อน ทำให้การตัดรูปตัดอาคารจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยคลี่แบบเพื่อให้ผู้ดูแบบได้ทำความเข้าใจได้ง่าย หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมเอาผลงานสถาปัตยกรรมของสถาปนิกชื่อดังทั่วโลกมาตัดรูปตัดและรวบรวมไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ มีการนำเสนอที่น่าสนใจ ชัดเจน ถือเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับน้องๆ ม.ปลาย ที่จะลองศึกษาให้คุ้นชินกับการมองมิติของอาคาร มองชิ้นส่วนโครงสร้างของอาคาร รวมไปถึงแนวความคิดในการออกแบบของแต่ละอาคารที่สอดคล้องไปกับที่ว่างที่ปรากฎในภาพตัด ถือเป็นหนังสือที่อ่านง่าย อ่านเพลิน และเสริมทักษะพื้นฐานที่ดีสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาสถาปัตยกรรมเลยก็ว่าได้ ในหนังสือผู้อ่านจะได้รู้จักผลงานของสถาปนิกชื่อดังมากมาย ตัวอย่างเช่น Le Corbusier , Louis Kahn , SANAA , Kengo Kuma , Toyo Ito ฯลฯ
“ CONSTRUCTION AND DESIGN MANUAL “
หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยกันหลายเล่ม แต่ละเล่มจะเป็นการรวบรวมการเขียนแผนภาพความคิดหรือ diagram อยู่ไว้มากมาย น้องๆจะได้เรียนรู้การนำเสนอและเล่าข้อมูลของการออกแบบต่างๆด้วยการเล่าออกมาเป็นรูปภาพที่เข้าใจง่าย สวยงาม และน่าสนใจ ช่วยสร้างความต่อเนื่องของการทำความเข้าใจผลงานการออกแบบของน้องๆได้เป็นอย่างดี เนื้อหาภายในเล่มมีทั้งการเขียน diagram สำหรับเล่าแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรม การวิเคราห์สถานที่ตั้ง การวิเคราะห์ระบบของอาคาร และ การเล่าเรื่องราวข้อมูลต่างๆทีสำคัญของการออกแบบอีกด้วย
“ CONDITIONAL DESIGN : AN INTRODUCTION TO ELEMENTAL ARCHITECTURE “
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือพกพาขนาดเล็กที่รวบรวมกลยุทย์ต่างๆของการออกแบบที่ว่างทาง 3 มิติ เอาไว้อย่างน่าสนใจ เหมาะกับน้องๆที่เพิ่งเริ่มได้ลองคิดและออกแบบที่ว่างทาง 3 มิติในช่วงแรกๆ เนื่องจากหนังสือจะเผยให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของที่ว่างในมิติที่บางทีเราอาจจะนึกไม่ถึง และมีการจัดระบบเนื้อหาไว้เป็นอย่างดี มีภาพที่เข้าใจง่าย ไม่หนักและลึกจนเกินไป ถือเป็นหนังสือที่ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบของน้องๆในช่วงเริ่มต้นได้เป็นอย่างดี
“ DIGRAMING THE BIG IDEA “
เป็นหนังสือที่วิเคราะห์ระบบทางสถาปัตยกรรมออกมาผ่าน diagram เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจถึงที่มาที่ไปและระบบในการสร้างสถาปัตยกรรมแต่ละหลังขึ้นมา ถือเป้นหนังสือที่มีความลึกและยากสำหรับน้องๆป.ปลายที่ยังไม่มีพื้นฐานในการเรียนทางสถาปัตยกรรมมามาก แต่ก็ช่วยเสริมสร้างการคิดและออกแบบที่ว่างอย่างมีระบบ ที่มาที่ไปที่ช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับสถาปัตยกรรมได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว เนื่องจากการออกแบบสถาปัตยกรรมนั้น ไม่ได้มีแค่เรื่องของความสวยงาม หรือแนวคิดที่น่าสนใจเพียงเท่านั้น ระบบการคิดและสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมอย่างมีหลักเกณฑ์และตอบรับกับการใช้สอยนั้นเป็นสิ่งที่ยากและสำคัญมากเช่นกัน