เข้าสู่ช่วงท้ายสำหรับการสอบเข้าของน้องๆปี 65 กันแล้ว หลายๆคนคงกำลังวุ่นอยู่กับการเลือกอันดับ admission ของตนกันอย่างแน่นอน ในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้ ได้มีการประกาศเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของข้อสอบเข้าของน้องๆในปีต่อๆไป หลายๆคนคงทราบแล้วว่าในการสอบเข้ามหาลัยในปี 66นี้จะต้องมีหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปมากเลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่าล้วนส่งผลกระทบต่อการติวสถาปัตย์ของน้องๆที่สนใจสอบเข้าสถาปัตย์ภาคไทยเป็นอย่างมากอย่างแน่นอน
สิ่งที่เปลี่ยนไปจากข้อสอบปี 65
ข้อสอบในปีนี้ได้เปลี่ยนชื่อจาก PAT4 ไปเป็น TPAT4 โดยมีการตัดการสอบข้อเขียนออกไปและเปลี่ยนเป็นการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ฮือฮาสำหรับวงการการติวสถาปัตย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากสิ่งที่เป็นหัวใจหลักในการติวสถาปัตย์ของน้องๆหลายๆคนคือการฝึกฝนเรื่องการวาดภาพทัศนียภาพนั้นได้ถูกตัดออกไปนั่นเอง หลายคนได้ทุ่มเวลาไปกับการฝึกฝนภาพทัศนียภาพกันเป็นส่วนใหญ่ในโรงเรียนติว และมักใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปีในการฝึกฝน ทำให้เมื่อข้อสอบเปลี่ยนไปในแนวทางนี้น้องๆหลายคนมีความกังวลเป็นอย่างมากว่าสิ่งที่ตนเองได้ฝึกฝนมาจะไม่ตรงจุดนั่นเอง ทำให้การทำความเข้าใจกับเรื่องมิติสัมพันธ์และความรู้พื้นฐานทางสถาปัตยกรรมจึงสำคัญกับการติวสถาปัตย์ในยุคใหม่มากยิ่งขึ้น
ผลกระทบต่อการติวสถาปัตย์
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของข้อสอบและเนื้อหาของการสอบในปี 66 ที่จะถึงนี้ ส่งผลมากมายต่อการติวสอบของน้องๆหลากหลายสาขา ในการติวสถาปัตย์นั้นก็ถือว่ามีผลกระทบมากมายเช่นเดียวกัน จากประสบการณ์ที่ทางพี่ๆได้พูดคุยและได้เป็นส่วนหนึ่งในการติวสอบสถาปัตย์ของน้องๆมาหลายปี เชื่อว่ามีน้องๆหลายคนที่มุ่งเน้นไปในการสอบ PAT4 และตั้งใจจะข้ามการสอบรอบ TCAS1 และไปตะลุยทำคะแนนเพื่อไปแย่งที่ในรอบ TCAS3 กันไม่น้อย การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จึงจะส่งผลให้น้องๆต้องวางแผนการฝึกฝนของตนเองใหม่ และการวางแผนการติวสถาปัตย์จึงควรวางแผนการฝึกฝนทุกอย่างอย่างกระชับและสมเหตุสมผลกับเวลาที่เหลือของแต่ละคนมากยิ่งขึ้นเป็นอย่างมาก ไม่สามารถทุ่มทุกอย่างไปกับการวาดภาพทัศนียภาพเพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป แต่สำหรับน้องๆที่ได้ฝึกฝนการวาดภาพทัศนีภาพมามากก็ยังสามารถที่จะประยุกต์ความสามารถในการวาดภาพสามมิติในการทำ PORTFOLIO หรือการทำข้อสอบมิติสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน
ผลกระทบต่อการเรียนสถาปัตยกรรม
จากปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้น การเปลี่ยนแปลงการสอบดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนพื้นฐานของว่าที่สถาปนิกของประเทศไทยไปสู่รุปแบบใหม่ที่สากลและตรงจุดมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการเรียนสถาปัตย์นั้นไม่ได้แปลว่าต้องมีแต่ความสามารถในการวาดภาพทัศนียภาพเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นการเน้นไปในเรื่องของความเข้าใจในรูปทรงสามมิติและการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบและแก้ปัญหาเพื่อสร้างที่ว่างที่ให้ประโยชน์แก่มนุษย์ ดังนั้นการคัดนักเรียนเพื่อเป็นนักศึกษาสถาปัตยกรรมที่มีการใช้เกณฑ์อื่นมาวัดเพิ่มเติมนอกจากการความสามารถในการวาดรูปจึงมีความน่าสนใจไม่น้อย อีกทั้งยังเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีและตรงประเด็นแก่น้องๆในการไปเรียนในอีก 5 ปีข้างหน้าอีกด้วย
แนวโน้มการติวสถาปัตย์ในอนาคต
จากข้อมูลทั้งหมดข้างต้นประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของจำนวนคนที่รับในรอบ TCAS3 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา จะพบว่าหลายๆมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นในการรับน้องๆจากรอบ TCAS1 แทบทั้งสิ้น โดยในบางมหาวิทยาลัยได้รับนักศึกษาในรอบ TCAS1 ไปมากเกือบ 90% ของจำนวนรับทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าการรับนักศึกษาเข้าศึกษาในคณะสถาปัตย์ของประเทศไทยในอนาคตมุ่งเน้นในการวัดจาก PORTFOLIO ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสามารถของน้องๆได้ตรงจุดและชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่ในทางเดียวกันนี้ การรับนักศึกษาในรอบ PORTFOLIO ก็ต้องแน่ใจได้ว่าผลงานดังกล่าวที่ได้จัดส่งมาเป็นผลงานที่ทำจากความรู้ความสามารถของน้องๆอย่างแท้จริง ดังนั้นการเริ่มมีจัดให้ทดสอบความรู้ความเข้าใจพื้นฐานต่างๆจึงเป็นการการันตีความสามารถของน้องๆแต่ละคนและช่วยประกอบการพิจารณาในการรับนักศึกษาของคณะสถาปัตย์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น