COMMDE จุฬา คือคณะอะไร เรียนสถาปัตย์หรือเปล่า ล้างความเชื่อผิดๆต่อคณะอินเตอร์นี้กัน

COMMDE จุฬา คืออีก 1 ภาควิชาที่เป็นกระแสยอดนิยมในปัจจุบันสำหรับเด็กอาร์ตที่สนใจคณะออกแบบ และแน่นอนว่าเวลาพูดถึงภาควิชานี้ก็ย่อมมีข้อสงสัยกับเนื้อหาวิชาการเรียนตามมา บางคนคิดว่า เข้าแล้วเรียนออกแบบผลิตภัณฑ์ บางคนก็บอกว่าต้องเรียนสถาปัตย์ด้วย ความจริงมันเป็นอย่างไร เราไปติดตามกันครับ

COMMDE จุฬา คืออะไร?

COMMDE ย่อมาจาก Communication Design โดยภาษาไทยคือ ภาควิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ฉะนั้นถ้าแปลตรงตัว COMMDE จุฬา คือภาควิชาที่สอนเนื้อหาการสื่อสารด้วยผลงานศิลปะและการออกแบบนั้นเองนั่นเอง แต่คราวนี้เราก็สงสัยใช่ไหมหล่ะว่า ถ้าอยู่คณะสถาปัตย์แล้ว ภาควิชานี้จะสอนเรื่องไหนบ้างกันแน่ เราไปอ่านกันครับ

IMG 2192 - Time Machine Studio
IMG 2190 rotated - Time Machine Studio

COMMDE จุฬาเรียนเนื้อหาสถาปัตย์ไหม ออกแบบผลิตภัณฑ์หรือเปล่า?

ก่อนอื่น ตามคำเต็มของภาควิชานี้ซึ่งคือ Communication Design ฉะนั้นชื่อดูไม่มีความความเกี่ยวของกับสถาปัตย์และการเรียนก็เช่นกัน ภาควิชานี้จะเน้นการเรียนการออกแบบเพื่อสื่อสารกับผู้ใช้งาน ฉะนั้นรูปแบบการออกแบบ (media) นั้นไม่ได้กำหนดไว้แค่ 1 อย่าง และส่วนใหญ่จะเน้นการสื่อสารด้วยรูปแบบ 2 มิติ เช่น การออกแบบโปสเตอร์ (poster) การออกแบบกราฟฟิก (graphic) การออกแบบแบรนดิ้ง(branding) และอื่นๆ 

ฉะนั้น ถ้าถามว่า COMMDE จุฬา เรียนเกี่ยวกับ สถาปัตย์ไหม คำตอบคือ ไม่เลย แม้จะมีงานที่เป็นการออกแบบ 3 มิติก็ตาม แต่ก็ไม่ได้เรียนกด้านวัสดุและการใช้งานระยะยาว แต่เป็นการได้ประสบการณ์ในช่วงเวลาสั้นๆมากกว่า 

และถ้าถามว่า COMMDE จุฬา เรียนการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือ product design ไหม คำตอบคือ อาจจะมีโอกาสได้เรียนและทำบ้าง แต่เนื้อหาหลักแล้วจะเป็นการเน้นการออกแบบเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากกว่า โดยหากบทสรุปเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วนั้น ก็สามารถทำได้เลย แต่ก็เช่นเดียวกันภาควิชานี้ไม่ได้เน้นแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว

COMMDE จุฬาเรียนยังไงกันแน่ จบมาจะทำงานสายไหน

จากที่ได้บอกไปว่า COMMDE จุฬา นั้นเน้นการเรียนรู้เพื่อสื่อสารโดยที่ไม่ได้กำหนดประเภทของงาน ฉะนั้นระบบการเรียนจะแตกต่างจากภาควิชาที่มีการระบุประเภทเฉพาะโดยสิ้นเชิง โดยระบบการเรียนจะเป็นลักษณะดังนี้

ในช่วง 3 ปีแรก จะเป็นการเรียนทุกๆประเภทของการสื่อสารด้วยผลงานศิลปะและการออกแบบ

ช่วงปี 1 จะเป็นการลงลึกการออกแบบรูปแบบผลงานจะใช้การสร้างผลงานด้วยมือเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นงานวาด งานปั้ม สลัก พิมพ์ ลงสี และอื่นๆ  

ช่วงปีที่ 2 เป็นการลงลึกงานนออกแบบที่ลึกขึ้น โจทย์ที่ยากขึ้น พร้อมใช้คอมฟิวเตอร์ในการทำงานออกแบบ

ช่วงปีที่ 3 จะได้ทดลองรูปแบบผลงานอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น การออกแบบแสง การออกแบบเสียง และเริ่มเตรียมตัวการทำวิทยานิพนธ์

ช่วงปีที่ 4 เป็น 1ปีที่เราจะได้เลือกประเภทการสื่อสารที่ชอบที่สุดและทำเป็นผลงานวิทยานิพนธ์

ฉะนั้นในข้อมูลที่เราได้เสนอ จะเห็นว่า COMMDE จุฬา อาจไม่ได้เน้นประเภทการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เป็นลงลึกกับโจทย์ และสามารถเลือกความเป็นไปได้ในการหยิบประเภทงานออกแบบมาสื่อสารให้ตรงโจทย์และความเป็นตัวเองมากที่สุด ซึ่งอาจมีข้อเสียอยู่บ้าง เช่นอาจจะไม่ได้เชี่ยวชาญประเภทงานเฉพาะ แต่สิ่งที่และมาคือ เราได้เหมือนถอยออกมา 1 ก้าว ได้มองโจทย์อย่างถี่ถ้วน และได้เลือกประเภทงานที่เหมาะสมที่สุดเป็นงานจบงานสุดท้าย และเมื่อพูดถึงการทำงาน ศิษย์เก่า COMMDE จุฬาได้สมัครงานตามประเภทงานของวิทยานิพนธ์ของตนเอง หรือและมีหลายคนที่ทำงานเป็นCURATOR หรือผู้คัดงานศิลปะนั่นเอง เพราะผู้ที่จบ COMMDE จุฬา มีความเข้าใจในหลานประเภทงานและเหมาะในการเป็นคนมองภาพใหญ่ที่สุดนั่นเอง

เลือกเรียนอะไรดี COMMDE จุฬา หรือ INDA จุฬา

อันนี้เป็นคำถามที่เกิดขึ้นบ่อยมาก เนื่องจาก 2 ภาควิชานี้เป็น 2 ทางเลือกให้แก่น้องๆที่สนใจสายการออกแบบหลักสูตรนานาชาติ และมีความใกล้เคียงกันในเชิงคะแนนและ portfolio ในการยื่นเข้า แต่จริงๆแล้ว 2 คณะนี้ต่างกันมากที่สุด

เนื่องจาก COMMDE จุฬา จะเน้นการทำงาน 2 มิติเป็นหลัก ส่วน INDA จุฬา เน้น 3 มิติเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 ภาควิชา มีจุดร่วมอยู่ นั่นเอง กระบวนการออกแบบนั้นเอง ฉะนั้น หลายๆครั้งเราจะเห็นการทำงานข้ามสายกันของ INDAจุฬา และ COMMDE จุฬา ซึ่งสุดท้ายนี้ เราอยากจะแนะนำให้น้องๆได้เลือกอันที่ชอบจริงๆและได้ทำ portfolio ให้ตอบโจทย์คณะนั้นๆมากกว่าการหว่านยื่นทุกคณะนะครับ ขอบคุณที่ให้ความสนใจกับบทความนี้ครับ

IMG 2123 rotated - Time Machine Studio

การตั้งค่าคุ้กกี้

เราใช้คุ้กกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์อย่างดีที่สุดให้กับคุณ รวมถึงคุ้กกี้จำเป็นสำหรับดำเนินงานของเว็บไซต์ และเพื่อจัดการวัตถุประสงค์ทางการค้า รวมถึงคุ้กกี้อื่นๆ ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติโดยไม่ระบุตัวตน สำหรับการตั้งค่าเว็บไซต์ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้นหรือสำหรับการแสดงเนื้อหาส่วนบุคคล คุณมีอิสระในการตัดสินใจเลือกหมวดหมู่ที่คุณต้องการ โปรดทราบว่าฟังก์ชั่นของเว็บไซต์บางส่วนอาจทำงานไม่เต็มรูปแบบซึ่งขึ้นอยู่กับการตั้งค่าคุ้กกี้ของคุณ คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

  • จำเป็น

    คุ้กกี้เหล่านี้มีความจำเป็นต่อการใช้งานฟังก์ชั่นหลักของเว็บไซต์นี้ เช่น ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย คุ้กกี้เหล่านี้เราสามารถตรวจสอบได้ หากคุณต้องการที่จะอยู่ในระบบเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงบริการของเราได้อย่างรวดเร็วหลังจากเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราแล้ว

  • สถิติ

    เพื่อการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เราจึงมีการติดตามข้อมูลอย่างไม่ระบุตัวตนเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล คุ้กกี้เหล่านี้ทำให้เราสามารถติดตามจำนวนการเข้าชมที่ส่งผลกระทบต่อหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ