สายงานของวิชาชีพสถาปนิก
อาชีพสถาปนิกเกี่ยวข้องกับวิชาชีพอื่นๆอยู่มากมายหลายเเขนง ทำให้สายงานในวิชาชีพสถาปนิกนั้น เกิดความหลายหลายตอบรับกับความเฉพาะทางของแต่ละสายงานมากขึ้น ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นสถาปนิกในสเกลของโครงการที่แตกต่างกันอย่าง สถาปนิก สถาปนิกออกแบบภายใน หรือ ภูมิสถาปนิก ล้วนมีการประสานงานกับหลายภาคส่วนที่คล้ายคลึงกันเกิดเป็นสายงานทางสถาปัตยกรรมรูปแบบต่างๆดังนี้
1. สถาปนิกสายออกแบบ ( ARCHITECT )
เป็นสายงานที่เป็นที่นิยมของสถาปนิกส่วนมาก เนื่องจากเป็นการทำงานหลักของวิชาชีพสถาปนิกซึ่งคือการออกแบบสถาปัตยกรรมนั่นเอง โดยจะมีส่วนร่วมกับงานสถาปัตยกรรมตลอดทุกขั้นตอนตั้งเเต่ เริ่มต้นโครงการ ตลอดจนการออกเเบบ เเละตรวจสอบงานก่อสร้างอาคาร โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นสองรูปแแบบคือ สถาปนิกประจำบริษัทสถาปนิก เเละ สถาปนิกประกอบวิชาชีพอิสระ
2. สถาปนิกสายคุมงานก่อสร้าง ( CONSTRUCTION MANAGEMENT )
เป็นสถาปนิกที่ทำหน้าที่ในการควบคุมคุณภาพ ความถูกต้อง และเวลาของการก่อสร้างอาคาร โดยมักจะทำงานร่วมกับทางผู้รับเหมาเป็นหลัก โดยทำหน้าที่ประสานงานระหว่างสถาปนิกผู้ออกแบบเเละผู้รับจ้างเหมาก่อสร้าง
3. สถาปนิกสายประสานงานโครงการ ( PROJECT MANAGER )
เป็นสถาปนิกที่เหมือนผู้ประสานงานหลักในโครงการ ทำหน้าที่ในการจัดการประสานงานทุกๆทีมของโครงการการออกแบบสถาปัตยกรรมตั้งแต่ เจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมาก่อสร้าง วิศวกรแขนงต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปได้อย่างรายรื่นมากที่สุด
4. สถาปนิกสายงานจัดการอาคาร ( FACILITY MAMAGEMENT )
สายงานนี้จะเข้ามามีบทบาทหลังจากที่อาคารได้ก่อสร้างเเล้วเสร็จ โดยจะเข้ามาดูแล ตรวจสอบ ซ้อมบำรุงและจัดการอาคารให้ยังคงมีประสิทธิภาพในด้านต่างๆตามเดิมตลอดอายุการใช้งาน
5. สถาปนิกสายงานประเมินราคาค่าก่อสร้าง ( COST ESTMATE )
เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีความรู้ในเรื่องของวัสดุการก่อสร้างอาคารที่มาก รวมไปถึงการตีราคาค่าแรงค่าวัสดุต่างๆที่เกี่ยวข้องในการก่อสร้างอาคาร มีหน้าที่ในการจัดทำและประมาณราคาของงานก่อสร้างทั้งหมด
6. สถาปนิกสายข้อมูลสนับสนุนการออกแบบอาคาร ( RESEARCH & DEVELOPMENT )
เป็นทีมสถาปนิกที่ทำหน้าเหมือนฝ่ายสนับหนุนให้แก่ทีมงานออกแบบ โดยหน้าที่หลักจะเป็นการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อนำไปต่อยอดเป็นเเนวคิดในการออกแบบอาคาร หรืออาจรวมไปถึงงานการศึกษากฎหมายควบคุมอาคาร และงานวิเคราะห์คุณสมบัติต่างๆของแบบงานออกแบบ
7. สถาปนิกสายงานอื่นๆ
ยังมีอีกหลายสายงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปนิกอีกมากมาย มีสถาปนิกหลายคนที่ผันตัวไปทำงานทางด้านอสังหาริมทรัพย์ หรือเป็นที่ปรึกษาเฉพาะทางในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรม
ความแตกต่างของบริษัทสถาปนิกขนาดต่างๆ
บริษัทสถาปนิกมีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ หากจำแนกตามขนาดขององค์กร สามารถจำได้ออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้คือ
1. บริษัทขนาดเล็ก
เป็นบริษัทที่มีจำนวนพนักงานทั้งหมดไม่เกิน 15 คน โดยเป็นการทำงานลักษณะของทีมเดี่ยว ซึ่งประกอบด้วยสถาปนิกระดับต่างๆตั้งแต่ หัวหน้าทีมออกแบบ สถาปนิก SENIOR เเละ สถาปนิก JUNIOR การทำงานในองค์กรขนาดเล็กสถาปนิกจะได้ทำงานหลากหลายส่วนเนื่องจากจำนวนคนที่จำกัดนั่นเอง
2. บริษัทขนาดกลาง
เป็นบริษัทสถาปนิกที่มีจำนวนพนักงานประมาณ 30 คน โดยการทำงานจะเป็นลักษณะของ STUDIO หรือคือการทำงานโดยแบ่งผนักงานออกเป็นทีมย่อยๆดูแลงานออกแบบที่แตกต่างกันออกไปโดยแต่ละทีมจะมีหัวหน้าทีมย่อยที่คอยประสานงานกับทางหัวหน้าองค์กร การทำงานในบริษัทลักษณะนี้ จะมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนแน
3. บริษัทขนาดใหญ๋
เป็นบริษัทสถาปนิกที่มีจำนวนพนักงานประมาณ 100 คนขึ้นไป มักเเบ่งการทำงานเป็น STUDIO ย่อยอีกทีหนึ่ง โดยมีหัวหน้า STUDIO ทำหน้าที่ประสานงานกับหัวหน้าทีมย่อยๆที่อยู่ในความดูแลของตนเเละ PRICIPAL ARCHITECT ที่ดูแลทุกๆ STUDIO การออกแบบ ในองค์กรขนาดใหญ่มักมีการแบ่งแผนกในการช่วยสนับสนุนการทำงานของทีมออกแบบมากมาย และมีระบบการทำงานที่ชัดเจนเป็นมาตรฐานอย่างมาก การทำงานในบริษัทลักษณะนี้จะมีโอกาศได้ร่วมออกแบบในโครงการที่พื้นที่โครงการขนาดใหญ่ซึ่งมีความซับซ้อนของโครงการไม่น้อยเลยทีเดียว
การทำงานจริง vs การเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย
การทำงานจริงในวิชาชีพสถาปนิกมีความคล้ายคลึงและแตกต่างจากการเรียนในคณะสถาปัตย์อยู่ไม่น้อย สิ่งที่เหมือนคือ process หรือขั้นตอนการทำงานออกแบบต่างๆและการแบ่งเวลาในการจัดการทำงานให้สำเร็จลุล่วงภายในเวลาที่กำหนด แต่สิ่งที่แตกต่างกันนั้น คือในการทำงานจริง การทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก รวมทั้งความรับผิดชอบต่างๆจะสำคัญมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการที่ต้องประสานงานกับผู้คนมากมาย ดังนั้นการมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ดีและมีระบบจะช่วยใหญ่การทำงานต่างๆดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในเรื่องของความหนักของงานเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้เเละไม่เเน่นอน ในการทำงานจริงอาจจะมีช่วงที่ปกติและช่วงที่งานโถมเข้ามาสลับกันไปคล้ายการเรียนในมหาวิทยาลัย ดังนั้นการแบ่งเวลาที่ดีและเตรียมพร้อมงานให้เสร็จภายในเวลางานอยู่เสมอจะเป็นตัวช่วยให้ไม่เกิดการภาระงานที่หนักมากเกินไป