เจาะลึกข้อสอบ PAT4 และ CU-TAD

เข้าใจส่วนประกอบของข้อสอบ

ข้อสอบความถนัดทางสถาปัตย์ไม่ว่าจะเป็น PAT4 (สำหรับสอบเข้าสถาปัตย์ภาคไทย TCAS รอบที่3) หรือ CU-TAD (สำหรับสอบเข้า INDA จุฬาฯ) ล้วนมีองค์ประกอบและใจความที่คล้ายคลึงกัน แตกต่างเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ข้อสอบ PAT4 จะเป็นการทำงานด้วยเทคนิค ขาว เทา ดำ ทั้งหมด ในขณะที่ CU-TAD มีการอนุญาติให้สามารถทำผลงานด้วยเทคนิคการลงสีได้ โดยข้อสอบทั้งสองล้วนมีวัตถุประสงค์ในการทดสอบเรื่องของ ทักษะการวาดภาพ การออกเเบบ เเละความเข้าใจทาง 3 มิติ ของผู้สอบภายในระยะเวลาอันจำกัด โดยข้อสอบเเต่ละชนิดมีการแบ่งส่วนย่อยที่แตกต่างกัน แต่หากแบ่งตามหมวดหมู่ของเนื้อหาเเล้วนั้น สามารถแบ่งออกอย่างง่ายได้ดังนี้

  1. การวัดความรู้พื้นฐานทางสถาปัตย์ 
  2. การวัดทักษะทางด้านที่ว่าง 2 มิติ
  3. การวัดทักษะทางด้านที่ว่าง 3 มิติ
  4. การวัดพื้นฐานทางการออกแบบ
IMG 9578 - Time Machine Studio
IMG 7517 - Time Machine Studio

1 การวัดความรู้พื้นฐานทางด้านสถาปัตย์

ข้อสอบส่วนนี้มักเป็นข้อสอบปรนัย โดยมีสัดส่วนของเนื้อหาเเตกต่างกันออกไปในเเต่ละปี อยู่ในส่วนแรกของทั้งข้อสอบ PAT4 และ CU-TAD โดยเนื้อหาทั้งหมดสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

1.1 ความรู้พื้นฐานทางสถาปัตยกรรม ( มีเฉพาะ PAT4 )

เป็นการทดสอบความรู้เบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานในการออกเเบบอาคาร ตัวอย่างเช่น ความเข้าใจเรื่องทิศทางแดด ลม ฝน การใช้งานของผู้คน วัสดุอาคาร รวมไปถึงประวัติศาสตร์ทางสถาปัตยกรรมอย่างง่าย

1.2 ความรู้พื้นฐานทางหลักวิศวกรรมโครงสร้าง

เป็นการวัดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสมดุลกลที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมขั้นพื้นฐาน มีความคล้ายคลึงโจทย์แบบฝึกหัดวิชาฟิสิกส์ทั่วไปแต่ไม่ซับซ้อนเเละไม่ยากจนเกินไป

1.3 ความรู้ทางด้านหลักเหตุผลแและมิติสัมพันธ์

เป็นข้อสอบที่ถูกบรรจุอยู่มากที่สุดในหมวดนี้ โดยจะเน้นไปในเรื่องของหลักความคิดจ่างๆอย่างสมเหตุสมผล ผสมผสานกับการวัดความสามารถในการเข้าใจรูปทรง 3 มิติของผู้สอบในเวลาอันจำกัด

2 การวัดความรู้พื้นฐานทางด้านที่ว่าง 2 มิติ

เป็นข้อสอบที่เน้นทดสอบความเข้าใจในการจัดองค์ประกอบของ ภาพ เเละ พื้นภาพ ( figure & ground ) รวมถึงการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสื่อสารโดยใช้ภาพอย่างเข้าใจง่าย ( graphic design ) โดยแบ่งออกได้ ดังนี้

2.1 การระบายช่องว่าง ( มีเฉพาะ PAT4 )

เป็นข้อสอบที่ทดสอบความเข้าใจเรื่องของการตีความระบบของรูปทรงเลขาคณิต เเละ การจัดองค์ประกอบพื้นที่สี ขาว เทา เเละดำ ให้เกิดความเป็น ภาพ เเละ พื้นภาพที่น่าสนใจ

2.2 การออกแบบโลโก้ 

เป็นข้อสอบที่เน้นการสื่อสารเรื่องราวต่างๆด้วยรูปภาพ 2 มิติ ที่ผ่านการลดทอนให้เรียบง่ายเเต่ยังคงสื่อความหมายของโจทย์ได้ชัดเจน

IMG 8450 - Time Machine Studio
IMG 0880 - Time Machine Studio

3 การวัดความรู้พื้นฐานทางด้านที่ว่าง 3 มิติ

ถือเป้นข้อสอบกลุ่มที่มีสัดส่วนคะเเนนสูงที่สุด เนื่องจากความเข้าใจทาง 3 มิติ ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการนำไปใช้ต่อยอดในการเรียนสถาปัตย์ในอนาคต โดยสามารถเเบ่งออกได้ดังนี้

3.1 การเขียนภาพไอโซเมตริกขนาดเล็ก

เป็นการถอดหรือประกอบรุปทรงสามมิติที่ไม่ซับซ้อน ด้วยความเข้าใจในความสัมพันธ์ของด้านในรูปทรง 3 มิติ เป็นส่วนที่ควรทำให้ได้คะแนนเต็ม 

3.2 การเขียนภาพไอโซเมตริกขนาดใหญ่

ข้อสอบส่วนนี้มีความซับซ้อนกว่าภาพไอโซเมตริกขนาดเล็กพอประมาณ เนื่องจากเป็นรูปทรง 3 มิติที่มีรายละเอียดที่มากกว่า เเละ ไม่ได้อยู่เพียงในระบบลูกบากศ์ 3x3x3 

3.3 การวาดภาพทัศนียภาพ หรือ perspective drawing

ถือเป็นข้อสอบคู่ใจของเด็กๆที่จะสอบเข้าสถาปัตย์กันมาทุกยุคทุกสมัยเลยก็ว่าได้ เป็นการเขียนภาพ 3 มิติ เล่าเหตุการณ์ตามเรื่องราวของโจทย์ที่กำหนดให้ พร้อมทั้งเเสดงมิติ ระยะเเละเเสงเงาในภาพให้ชัดเจน 

3.4 การวาดภาพมือ ( มีเฉพาะ CU-TAD )

การวาดภาพมือตามท่าทางที่โจทย์กำหนดในเวลาอันสั้น ข้อสอบส่วนนี้อาจดูคล้ายการวาดเส้นของการสอบเข้าคณะมัณฑนศิลป์ เเต่จะมีความละเอียดของงานที่หยาบกว่า เนื่องจากควรทำในเวลาประมาณ 15-20 นาที 

การเน้นให้เห็นถึงแสงเงาที่ชัดเจนจึงมีความสำคัญมากในข้อสอบส่วนนี้

4 การวัดความรู้พื้นฐานทางด้านการออกแบบ ( มีเฉพาะ CU-TAD )

เป็นข้อสอบที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกเเบบชิ้นงาน ประกอบกับ ทักษะทางด้านของการนำเสนอผลงานที่ดีในเวลาอันจำกัด ปัจจุบันข้อสอบส่วนนี้ปรากฎอยู่เพียงในข้อสอบ CU-TAD เท่านั้น เเต่ก็มีความเป็นไปได้ที่อาจจะถูกนำเข้าไปอยู่ในข้อสอบ PAT4 ในอนาคต โดยประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้

4.1 การออกแบบผลิตภัณฑ์

เป็นการนำเสนอภาพ 3 มิติของงานออกเเบบจากโจทย์ที่กำหนดในหลายเเนวทางเลือก ( โดยปกติเเล้ว 2-4 เเบบ ) จำเป็นต้องฝึกฝนการวางแผนการคิดเเละการวาดใ้ห้ดีภายเวลาที่เหมาะสม

4.2 การทำ sketch design

เป็นการออกเเบบเเละนำเสนอผลงานการออกเเบบ โดยมีการระบุรายละเอียดของชิ้นงานรวมไปถึงอธิบายแนวความคิดในการออกแบบให้เข้าใจง่ายเเละชัดเจน โดยตัวเเบบนำเสนอควรมีความโดนเด่นเเละดึงดูดตากรรมการ

Time Machine Bangkok สถาบันสอนการออกแบบสถาปัตยกรรม

PAT4

เนื้อหาการสอบ ความยาก จำนวนข้อ คะแนน / ข้อ คะแนนเต็ม คะแนนขั้นต่ำ
Part I
ความรู้พื้นฐานทางสถาปัตยกรรม ปานกลาง 20 3 60 45
ความรู้พื้นฐานทางหลักวิศวกรรมโครงสร้าง
ความรู้ทางด้านหลักเหตุผลแและมิติสัมพันธ์
Part II
3D การเขียนภาพไอโซเมตริกขนาดเล็ก ง่าย 10 3 30 30
2D การออกแบบโลโก้ ปานกลาง 4 15 60 45
Part III
2D การระบายช่องว่าง ยาก 2 30 60 30
3D การเขียนภาพไอโซเมตริกขนาดใหญ่ ปานกลาง 1 30 30 30
3D การวาดภาพทัศนียภาพ ยาก 1 60 60 30
Part I 60 45
Part II 90 75
Part III 150 90
คะแนนรวมทั้งหมด 300 220

CU-TAD

เนื้อหาการสอบ ความยาก จำนวนข้อ คะแนน / ข้อ คะแนนเต็ม คะแนนขั้นต่ำ
Part I
ความรู้พื้นฐานทางหลักวิศวกรรมโครงสร้าง ปานกลาง 4 3 20 15
ความรู้พื้นฐานทางหลักวิศวกรรมโครงสร้าง
Part II
2D การออกแบบโลโก้ ปานกลาง 4 2.5 10 7.5
3D การออกแบบผลิตภัณฑ์ / sketch design ปานกลาง 2-4 2.5-5 10 7.5
3D การเขียนภาพไอโซเมตริกขนาดเล็ก ง่าย 10 2 20 20
Part III
3D การวาดภาพมือ / การเขียนภาพไอโซเมตริกขนาดใหญ่ ปานกลาง 1 20 20 10
3D การวาดภาพทัศนียภาพ ยาก 1 20 20 10
Part I 20 15
Part II 40 35
Part III 40 20
คะแนนรวมทั้งหมด 100 70

การตั้งค่าคุ้กกี้

เราใช้คุ้กกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์อย่างดีที่สุดให้กับคุณ รวมถึงคุ้กกี้จำเป็นสำหรับดำเนินงานของเว็บไซต์ และเพื่อจัดการวัตถุประสงค์ทางการค้า รวมถึงคุ้กกี้อื่นๆ ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติโดยไม่ระบุตัวตน สำหรับการตั้งค่าเว็บไซต์ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้นหรือสำหรับการแสดงเนื้อหาส่วนบุคคล คุณมีอิสระในการตัดสินใจเลือกหมวดหมู่ที่คุณต้องการ โปรดทราบว่าฟังก์ชั่นของเว็บไซต์บางส่วนอาจทำงานไม่เต็มรูปแบบซึ่งขึ้นอยู่กับการตั้งค่าคุ้กกี้ของคุณ คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

  • จำเป็น

    คุ้กกี้เหล่านี้มีความจำเป็นต่อการใช้งานฟังก์ชั่นหลักของเว็บไซต์นี้ เช่น ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย คุ้กกี้เหล่านี้เราสามารถตรวจสอบได้ หากคุณต้องการที่จะอยู่ในระบบเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงบริการของเราได้อย่างรวดเร็วหลังจากเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราแล้ว

  • สถิติ

    เพื่อการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เราจึงมีการติดตามข้อมูลอย่างไม่ระบุตัวตนเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล คุ้กกี้เหล่านี้ทำให้เราสามารถติดตามจำนวนการเข้าชมที่ส่งผลกระทบต่อหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ